การวิเคราะห์ทางเภสัชกรรมไทยเครื่องยาสมุนไพรกลุ่มอาการไข้ ในหนังสือรายการยาแผนไทยแห่งชาติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารทางการแพทย์แผนไทย เพื่อศึกษาตำรับยาและการใช้พืชสมุนไพรรักษาโรคในกลุ่มอาการไข้ จากการคัดเลือกตำรับยาตามเกณฑ์การคัดเข้า พบว่ามีตำรับยารักษากลุ่มอาการไข้ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 15 ตำรับ และสามารถรวบรวมชนิดของพืชสมุนไพรได้ทั้งสิ้น 128 รายการจากตำรับยา โดยตำรับยาที่ผ่านการคัดเลือกเป็นตำรับยาที่มีเครื่องยาในตำรับที่หาง่าย ซึ่งรากเป็นส่วนของพืชสมุนไพรที่นำมาใช้เป็นเครื่องยามากที่สุด วิธีการเตรียมและการใช้ตำรับยามักบดเป็นผงละลายน้ำกระสายยา หรือบดเป็นผงและปั้นด้วยน้ำผึ้ง ส่วนวิธีการใช้ยาที่นิยมคือการรับประทาน ในขณะเดียวกันเครื่องยาสมุนไพรที่มีค่าความถี่สูงสุด คือจันทน์ขาว (Santalum album L.) และย่านาง (Tiliacora triandra (Colebr.) Diels.) (FR = 7.813) ผลการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงหลักการใช้สมุนไพรรักษาโรคที่มีศักยภาพในการพัฒนาเชิงวิจัยและการพาณิชย์ในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
เกศริน มณีนูน, บดินทร์ ชาตะเวที, จอมขวัญ ดาคง, นัฐพล เคียนขัน และนงลักษณ์ กุลวรรัตต์. (2560). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรรักษาโรคโลหิตระดูสตรีของหมอพื้นบ้านในจังหวัดกระบี่และสงขลา. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา 22(3): 243-258.
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2562). รายการตำรับยาแผนไทยแห่งชาติ เล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี: สามเจริญพาณิชย์ (จำกัด).
ดารณี อ่อนชมจันทร์. (2549). ภูมิปัญญาการแพทย์พื้นบ้านอีสาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
วิญญู วงศ์วิวัฒน์. (2556). ภูมิปัญญาการรักษาโรคสะเก็ดเงินของหมอพื้นบ้านในจังหวัด สงขลา พัทลุง ตรัง และสตูล. ปริญญานิพนธ์การแพทย์แผนไทยมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิชัย โชควิวัฒน, สุวิทย์ วิบุลผลประเสริฐ และประพจน์ เภตรากาศ. (2553). รายงานการสาธารณสุขไทยด้านการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน และการแพทย์ทางเลือก. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สมชาย ชินวานิชย์เจริญ. (2558). ไข้ไม่ทราบสาเหตุ. แหล่งข้อมูล: http://www2.manager.co.th. ค้นเมื่อ 27 ตุลาคม 2562.
สมภพ ประธานธุรารักษ์, พร้อมจิต ศรลัมพ์ และธนุชา บุญจรัส. (2553). กายวิภาคและสัณฐานวิทยาของพืช. ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
Hipol, R.L.B., Cariaga, M.F.N.M. and Hipol, R.M. (2012). Anti- inflammatory activities of the aqueous extract of the stem of Tinospora crispa (Family Menispermaceae). Journal of Nature Studies 11: 88–95.
Jongchanapong, A., Singharachai, C., Palanuvej, C., Ruangrungsi, N. and Towiwat, P. (2010). Antipyretic and antinociceptive effects of Ben-cha-lo-ka-wi-chian remedy. Journal of Health Research 24(1): 15-22.
Juckmeta, T. and Itharat, A. (2012). Anti - inflammatory and antioxidant activities of Thai traditional remedy called “Ya-ha-rak”. Journal of Health Research 26(4): 205-210.
Pal, A., Mahmud, Z.A., Akter, N., Islam, S. and Bachar, S.C. (2012). Evaluation of Antinociceptive, Antidiarrheal and Antimicrobial Activities of Leaf Extracts of Clerodendrum indicum. Pharmacognosy Journal 4(30): 41-46.
Sidde, L., Malathi S., Swethalatha, S. and Rajani, K. (2018). A brief review on Clerodendrum indicum. International Journal Indigenous Herbs Drugs 3: 1-4.
Trotter, R.T. and Logan, M.H. (1986). Informant consensus: A new approach for identifying potentially effective medicinal plants. In: Etkin NL (Ed.), Plants in Indigenous Medicine and Diet: Biobehavioral Approaches. New York: Redgrave Publishing Company. 91–112.
Vasudevan, S.C.N., Kariyil, B.J. and Neerakkal, I. (2019). Antipyretic activity of aqueous extract of heart wood of Pterocarpus santalinus L. in yeast induced pyrexia. Journal of Pharmacognosy and Phyto-chemistry 8(3): 244-246.
Weerawatanakorn, M., Rojsuntornkitti, K., Pan, M.H. and Wongwaiwech, D. (2018). Some Phytochemicals and Anti - inflammation Effect of Juice from Tiliacora triandra Leaves. Journal of Food and Nutrition Research 6(1): 32-38.