การประดิษฐ์ฟิล์มบาง CH3NH3Pb(SCN)2I สำหรับใช้เป็นตัวดูดกลืนแสง ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์แบบไม่มีชั้นนำส่งโฮล

Main Article Content

พรรณธิวา กำลังวรรรณ
พิศิษฐ์ คำหน่อแก้ว
วิรัตน์ เจริญบุญ
สมัคร์ พิมานแพง
วิทยา อมรกิจบำรุง

บทคัดย่อ

ฟิล์มบาง CH3NH3Pb(SCN)2I (MAPb(SCN)2I) ถูกเตรียมด้วยวิธีการเคลือบแบบการจุ่ม (Sequential Dip-Coating) บนพื้นผิวไททาเนียมไดออกไซด์ (TiO2) ซึ่งประกอบด้วยสองขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่หนึ่ง การเตรียมฟิล์มบาง Pb(SCN)2 ด้วยการสปินสาร Pb(SCN)2 ความเข้มข้น 0.5 M 1.0 M 1.5 M 2.0 M 2.5 M หรือ 3.0 M บนผิวฟิล์ม TiO2 และขั้นตอนที่สอง การจุ่มฟิล์มบาง Pb(SCN)2 ในสารละลาย Methylammonium iodide (MAI) เป็นเวลา 2 นาที ผลการทดสอบลักษณะพื้นผิวของฟิล์มด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่า ผิวฟิล์มมีลักษณะเป็นรูปทรงหลายเหลี่ยมขนาดใหญ่กระจายตัวทั่วผิวฟิล์มไททาเนียมไดออกไซด์ และเมื่อนำฟิล์มบาง CH3NH3Pb(SCN)2I ไปประกอบเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟไกต์แบบไม่มีชั้นนำส่งโฮล พบว่าความเข้มข้นของ Pb(SCN)2 1.0 M ให้ค่าประสิทธิภาพเซลล์แสงอาทิตย์สูงสุด 4.22% และสูงกว่าเงื่อนไขอื่นๆ ทั้งนี้น่าจะเนื่องจากฟิล์มบาง MAPb(SCN)2I ที่ได้จากความเข้มข้น Pb(SCN)2 1.0 M มีโครงสร้างเพอรอฟสไกต์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์และฟิล์มมีความต่อเนื่องเกือบจะครอบคลุมพื้นผิว TiO2 ดีกว่าเงื่อนไขอื่นๆ

Article Details

How to Cite
กำลังวรรรณ พ. ., คำหน่อแก้ว พ. ., เจริญบุญ ว. ., พิมานแพง ส. ., & อมรกิจบำรุง ว. . (2019). การประดิษฐ์ฟิล์มบาง CH3NH3Pb(SCN)2I สำหรับใช้เป็นตัวดูดกลืนแสง ในระบบเซลล์แสงอาทิตย์ชนิดเพอรอฟสไกต์แบบไม่มีชั้นนำส่งโฮล. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4), 652–662. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250050
บท
บทความวิจัย
Author Biographies

วิรัตน์ เจริญบุญ, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002,
ศูนย์ความเป็นเลิศ นาโนเทค - มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน จังหวัดขอนแก่น 40002,
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ จังหวัดเชียงใหม่ 50200

สมัคร์ พิมานแพง, ศูนย์ความเป็นเลิศ นาโนเทค - มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน จังหวัดขอนแก่น 40002

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ จังหวัดเชียงใหม่ 50200
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110

วิทยา อมรกิจบำรุง, สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002

ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40002,
ศูนย์ความเป็นเลิศ นาโนเทค - มหาวิทยาลัยขอนแก่น ด้านวัสดุนาโนขั้นสูงสำหรับการผลิตและกักเก็บพลังงาน จังหวัดขอนแก่น 40002,
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านฟิสิกส์ จังหวัดเชียงใหม่ 50200