การทำบริสุทธิ์สารพิษจากไซยาโนแบคทีเรีย ไมโครซิสตินโดยดีอีเออี และสตราต้า-เอ๊กซ์ โครมาโตกราฟี

Main Article Content

Kranokpron Moolwangand
Theerasak Somdee

บทคัดย่อ

เซลล์แห้ง (20 กรัม) ของไซยาโนแบคทีเรียที่เจริญอย่างมากมายจากบึงหนองโคตร จังหวัดขอนแก่น ถูกสกัดและทําบริสุทธิ์โดยสารผสมของสารพิษไมโครซิสตินหลายชนิดถูกระบุชนิด สารพิษถูกทําให้บริสุทธิ์โดยดีอีเออี และสตราต้า-เอ็กซ์โครมาโทกราฟีและระบุชนิดโดยใช้เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงที่มีโฟโตไดโอดอาร์เรย์เป็นตัวตรวจวัด และใช้เครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงที่มีแมสสเปกโทรมิเตอร์เป็นตัวตรวจวิเคราะห์มวล จากการศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเซลล์แห้งพบไมโครซิสติน 3 ชนิด ประกอบด้วย ไมโครซิสตินชนิดอาร์-อาร์ชนิดเอฟ-อาร์ และชนิดแอล-อาร์ ที่มีกรดอะมิโนในตำแหน่งที่ 7 เป็น Dha ซึ่งชนิดแอล- อาร์ ชนิดดังกล่าวเป็นสารพิษชนิดหลักที่พบ มีความบริสุทธิ์ 93 เปอร์เซ็นต์และได้ผลผลิตจํานวน 25.38 มิลลิกรัม โดยไมโครซิสตินแอล-อาร์ ชนิดที่มีกรดอะมิโนในตําแหน่งที่ 7 เป็น Dha จัดเป็นไมโครซิสตินชนิดแอล-อาร์ ชนิดย่อยชนิดหนึ่ง ที่เกิดการขาดหมู่เมทิลของกรดอะมิโน Mdha ทําให้เกิดเป็น Dha ซึ่งเป็นชนิดหลักที่พบในบึงหนองโคตร แทนที่จะเป็นชนิดแอล-อาร์อย่างที่พบในทะเลสาบหลายแห้งในต่างประเทศ จากผลการตรวจพบไมโครซิสตินนี้อาจเชื่อมโยงกับรายงานการตายของสัตว์และการเจ็บป่วยของมนุษย์เนื่องจากเป็นสารพิษที่มีความคงตัวสูง และอาจคงอยู่ในน้ำได้หลายสัปดาห์ ความรู้ของการตรวจพบชนิดของไมโครซิสตินในแหล่งน้ำจะนําสู่การกําจัดสารพิษต่อไป

Article Details

How to Cite
Moolwangand, K. ., & Somdee, T. . (2019). การทำบริสุทธิ์สารพิษจากไซยาโนแบคทีเรีย ไมโครซิสตินโดยดีอีเออี และสตราต้า-เอ๊กซ์ โครมาโตกราฟี. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(1), 26–33. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249970
บท
บทความวิจัย