การเปรียบเทียบการเจริญ และองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า (สไปรูไลน่า) สายพันธุ์ต่างๆ ของประเทศไทย

Main Article Content

จงกล พรมยะ
ชนกันต์ จิตมนัส
บัญชา ทองมี

บทคัดย่อ

การทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเจริญ คุณค่าทางโภชนาการ สารสี ต้นทุนการผลิต และคุณภาพน้ำ ในการเพาะเลี้ยง Spirulina (Arthrospira) platensis สายพันธุ์ต่างๆ ของประเทศไทย ทําการเพาะเลี้ยงในบ่อ raceway ponds วางแผนการทดลองแบบ CRD แบ่งเป็น 3 ชุดการทดลองๆ 3 ซ้ำ ดังนี้ 1) สายพันธุ์ T1Aspi.CMU1 2) สายพันธุ์ T2Aspi.MJU1 และ 3) สายพันธุ์ T3Aspi.MJU2 เก็บข้อมูลทุกๆ 3 วัน ระยะเวลา 15 วัน พบว่าสายพันธุ์ T1Aspi.CMU1 มีอัตราการเจริญจําเพาะ และแคโรที-นอยด์สูงกว่าสายพันธุ์อื่น ปริมาณโปรตีนโดยน้ำหนักแห้งสูงในสายพันธุ์ T3Aspi.MJU2 มีค่า 46.91±0.81 เปอร์เซ็นต์และสายพันธุ์ T2Aspi.MJU1 มีผลผลิตโดยน้ำหนักแห้ง 0.35±0.05 กรัม/ลิตร และต้นทุนการผลิต 309.69±38.36 บาท/กิโลกรัม คุณภาพน้ำทั้ง 3 ชุด การทดลองไม่มีความแตกต่างทางสถิติสรุปได้ว่า สายพันธุ์ T2Aspi. MJU1 มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงเนื่องจาก มีปริมาณผลผลิตโดยน้ำหนักแห้ง และต้นทุนการผลิตดีกว่าสายพันธุ์อื่น

Article Details

How to Cite
พรมยะ จ., จิตมนัส ช. ., & ทองมี บ. . (2018). การเปรียบเทียบการเจริญ และองค์ประกอบทางเคมีของสาหร่ายอาร์โธรสไปร่า (สไปรูไลน่า) สายพันธุ์ต่างๆ ของประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 46(2), 293–301. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249881
บท
บทความวิจัย