สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

Main Article Content

Amnuay Wattanakornsiri
Phinyo Jandaeng
Tongsai Jamnongkan
Jakrigd Labkosa

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสภาพปัญหา แนวทางการจัดการ และปริมาณ องค์ประกอบและลักษณะสมบัติมูลฝอยในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ ผลการศึกษาพบว่า มีปริมาณมูลฝอยโดยเฉลี่ย 302 กิโลกรัมต่อวัน และอัตราการผลิตมูลฝอยเฉลี่ย 0.023 กิโลกรัม/คน/วัน ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบของมูลฝอย พบว่า องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นกระดาษ ร้อยละ 37.49 พลาสติก ร้อยละ 24.95 ขวดพลาสติกรีไซเคิล ร้อยละ 23.88 และเศษอาหาร ร้อยละ 13.68
สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการมูลฝอย พบว่านักศึกษาและบุคลากรมีความรู้เรื่องมูลฝอยและการจัดการในระดับปานกลางร้อยละ 53.76 สภาพความรุนแรงของปัญหามูลฝอยในมหาวิทยาลัยฯ มีค่าอยู่ในระดับความรุนแรงมาก (4.19±0.87) ความพึงพอใจในการจัดการมูลฝอยมีค่าอยู่ในระดับที่มีการดำเนินการมาก (3.74±1.09) และความพึงพอใจในการมีส่วนร่วมของชุมชนในมหาวิทยาลัยฯ มีค่าอยู่ในระดับที่มีส่วนร่วมมาก (4.00±0.96) เนื่องจากนักศึกษาแลบุคลากรมีความรู้เรื่องมูลฝอยและการจัดการในระดับปานกลาง ความพึงพอใจ ในการจัดการและการมีส่วนร่วมอยู่ในระดับมาก แต่ปัญหาด้านมูลฝอยยังอยู่ในระดับรุนแรงมาก ดังนั้นมหาวิทยาลัยฯ ควรมีโครงการอบรมให้ความรู้เรื่องมูลฝอยและการจัดการโดยเร่งด่วน
แนวทางในการจัดการมูลฝอยของมหาวิทยาลัยฯ ปัจจุบันยังมีปัญหาที่ต้องปรับปรุงในด้านการเก็บรวบรวม การคัดแยก (ภาชนะรองรับมูลฝอยตองแยกประเภทชัดเจน) การมีระบบรีไซเคิล การมีระบบกําจัดมูลฝอย (เตาเผา หรือการฝังกลบแบบถูกสุขอนามัย) นอกจากนี้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยฯ ควรมีนโยบายสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจน โดยเน้นแนวทางการจัดการมูลฝอยให้เหลือศูนย์ รวมถึงต้องส่งเสริมโดยมีการรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักแก่นักศึกษาและบุคคลากร

Article Details

How to Cite
Wattanakornsiri , A. ., Jandaeng, P. ., Jamnongkan, T. ., & Labkosa, J. . (2014). สภาพปัญหาและแนวทางการจัดการมูลฝอยภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 42(2), 475–484. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249277
บท
บทความวิจัย