ปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียจากเครื่องตัดโลหะด้วยไฟฟ้า

Main Article Content

ณัฏฐ์วรินท์ ธุวะคำ
สมัชญ์ ทวีเกษมสมบัติ
สาวิตรี กาทองทุ่ง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำเสียจากกระบวนการตัดโลหะด้วยไฟฟ้าด้วยเครื่อง Wire electrical discharge machining (WEDM) โดยทำการเก็บตัวอย่างน้ำเสียของระบบก่อนและหลังกรอง อย่างละ 1,000 ml สำหรับวิเคราะห์โลหะหนัก 5 ชนิด ได้แก่ แคดเมียม ทองแดง ตะกั่ว ปรอท และสังกะสี ด้วยเครื่อง Atomic absorption spectrophotometer (AAS) โดยทำการวิเคราะห์ 5 ซ้ำ จากนั้นนำค่าความเข้มข้นของโลหะหนักที่ตรวจพบในตัวอย่างน้ำเสียมาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ไม่พบแคดเมียมในตัวอย่างน้ำเสียของระบบก่อนและหลังกรอง แต่พบการปนเปื้อนของทองแดง ตะกั่ว และปรอท โดยก่อนการกรองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.52 ± 0.06  <0.001 <0.001 mg/l และหลังการกรองมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.40 ± 0.04  <0.001  0.0011 mg/l ตามลำดับ ซึ่งมีค่าไม่เกินค่ามาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560 ส่วนปริมาณสังกะสีที่ตรวจพบในน้ำเสียตัวอย่างก่อนและหลังการกรองมีค่าสูงเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนด (5.0 mg/l) โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 6.72 ± 0.01 และ 6.51 ± 0.03 mg/l ตามลำดับ ดังนั้นโรงงานอุตสาหกรรมโลหะที่มีการใช้เครื่องตัดโลหะด้วยไฟฟ้า ควรมีการกำจัดสารโลหะหนักที่ปนเปื้อนในน้ำอย่างถูกวิธี โดยใช้วิธีการตกตะกอนทางเคมี หรือวิธีการทางไฟฟ้าเคมีซึ่งเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดสังกะสีที่ปนเปื้อนในน้ำก่อนที่จะปล่อยทิ้งสู่สิ่งแวดล้อมต่อไป

Article Details

How to Cite
ธุวะคำ ณ. ., ทวีเกษมสมบัติ ส., & กาทองทุ่ง ส. (2023). ปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียจากเครื่องตัดโลหะด้วยไฟฟ้า. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 51(1), 57–68. https://doi.org/10.14456/kkuscij.2023.6
บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). คู่มือการปฏิบัติงาน กระบวนการวิเคราะห์ดิน น้ำ และพืช ด้านสิ่งแวดล้อม. แหล่งข้อมูล:https://www.ldd.go.th/PMQA/2553/Manual/OSD-05.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2564.

กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน. (2565). เครื่องตัดโลหะด้วยเส้นลวด 1. แหล่งข้อมูล: http://home.dsd.go.th/hr/web/uploads/ dsdhr-JQ3ArTue24849.pdf. ค้นเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2565.

ขนิษฐา เจริญลาภ และฉันมณี พูลเจริญศิลป์. (2565). การกำจัดไอออนสังกะสีจากน้ำเสียเส้นด้ายยางโดยใช้เทคนิคการตกตะกอนทางเคมี. วารสารวิจัย มทร. กรุงเทพ 16(1): 99 - 110.

จุฑาทิพย์ อ้อมกิ่ง. (2557). การปนเปื้อนสารมลพิษในน้ำบาดาลบริเวณเขตอุตสาหกรรมและสถานที่ฝังกลบมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. นครราชสีมา: 156 หน้า.

ทิตา ดวงสวัสดิ์. (2554). การปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำและตะกอนดินท้องน้ำบริเวณปากแม่น้ำท่าตะเภา จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. พัทลุง.

ทิพย์วัลย์ คำเหม็ง. (2530). การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักในลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. ใน: รายงานการวิจัยจากองค์การบริหารวิเทศสหกิจแห่งสหรัฐอเมริกา (USAID) ประเทศไทย. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น. 317 - 325.

ธวัดชัย ธานี, พนิดา พันธ์สมบัติ, อรุณรัตน์ ฉวีราช, รุ่งลาวัลย์ สุดมูล และสำเนาว์ เสาวกูล. (2560). การสะสมโลหะหนักในน้ำ ดินตะกอน และปลาในลำน้ำมูล. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง 11(1): 82 - 92.

ธีรนาถ สุวรรณเรือง. (2563). โลหะหนักปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและผลกระทบต่อสุขภาพ. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 13(1): 76 - 82.

บริษัท ไชยเจริญเทค จำกัด. (2565). เจาะลึกเรื่องน่ารู้ของทองเหลืองโลหะผสมระหว่างทองแดงและสังกะสี. แหล่งข้อมูล: https://www.chi.co.th/article/article-847/. ค้นเมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2565.

บริษัท ไทพ์วัน ซัพพลาย จำกัด. (2555). การขึ้นรูปโลหะด้วยการ EDM. แหล่งข้อมูล: https://www.tosthailand.com/ 14474226/การขึ้นรูปโลหะด้วยการ EDM. ค้นเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2565.

พรพิมล บุญถึง และภาวินี จิตรถนอม. (2555). การกำจัดไอออนโลหะหนัก โดยเปลือกเมล็ดทานตะวันปรับสภาพโดยสารเคมี.

วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพมหานคร. 88 หน้า.

พรรณวดี ธำรงหวัง, ชลาทร ศรีตุลานนท์ และอรทัย ศุกรียพงศ์. (2540). ปริมาณโลหะหนักในลำน้ำจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทต่างๆ บริเวณลุ่มน้ำแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. ใน: รายงานการวิจัยกลุ่มลุ่มน้ำ ส่วนวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมป่าไม้. สำนักวิชาการป่าไม้. กรมป่าไม้, เชียงใหม่. 1 - 68.

พูลเพชร ธงไชย. (2541). การกำจัดโลหะหนักในน้ำทิ้งจากโรงงานชุบเคลือบโลหะด้วยไฟฟ้าโดยใช้แผ่นเยื่อกรอง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา: 228 หน้า.

ราชกิจจานุเบกษา. (2560). ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง กำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากโรงงาน พ.ศ. 2560. แหล่งข้อมูล: http://www.genco.co.th/Document/Inf_14.PDF. ค้นเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2565.

แววตา ทองระอา, ฉลวย มุสิกา, วันชัย วงสุดาวรรณ และอาวุธ หมั่นหาผล. (2549). การปนเปื้อนโลหะหนักในน้ำและดินตะกอนบริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก. ใน: รายงานการวิจัยการศึกษาสภาวะแวดล้อมทางทะเลบริเวณชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ปี 2547. สถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเล. มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี. 1 - 126.

ศูนย์ห้องปฏิบัติการกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2549). คู่มือการสุ่มเก็บ การบรรจุ และการเก็บรักษาสภาพตัวอย่างน้ำเพื่อการตรวจวิเคราะห์และทดสอบในห้องปฏิบัติการ. แหล่งข้อมูล: http://www.oic.go.th/fileweb/cabinfo-center17/drawer002/general/data0000/00000176.PDF. ค้นเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2566.

สหรัฐ เชาว์รูปดี. (2552). การกำจัดสังกะสีจากน้ำเสียโรงงานอุตสาหกรรมผลิตเส้นใยเรยอนโดยกระบวนการตกตะกอนทางเคมี และกระบวนการทางไฟฟ้าเคมี. วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: 124 หน้า.

สัมพันธ์ สร้อยกล่อม, ชานน สกุลอินทร์ และณรงค์ ผังวิวัฒน์. (2562). การกำจัดโครเมียมและสังกะสีในน้ำด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้า. ใน: การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 57. สาขาวิทยาศาสตร์และพันธุวิศวกรรม. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพมหานคร. 43 - 50.

อนุรักษ์ ปิ่นทอง และดาราวัลย์ วิลัย. (2563). ปริมาณโลหะหนักในน้ำเสียและน้ำทิ้งของระบบบำบัดน้ำเสีย โรงพยาบาลสมเด็จ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธนบุรี 4(2): 45 - 57.

Baird, R.B., Eaton, A.D. and Rice, E.W. (2017). Standard methods for the examination of water and wastewater. 23rd edition. Washington, D.C.: American Public Health Association (APHA). pp. 3 - 49.

Baldwin, D.H., Sandahl, J.F., Labenia, J.S. and Scholz, N.L. (2003). Sublethal Effects of Copper on Coho Salmon: Impacts on Nonoverlapping Receptor Pathways in the Peripheral Olfactory Nervous System. Environmental Toxicology and Chemistry 22(10): 2266 - 2274.

elixir™ by SCG. (2562). 3 โลหะหนัก ภัยแฝงที่มาจากถังเก็บน้ำหรือแทงค์น้ำ. แหล่งข้อมูล: https://www.scgchemicals. com/elixir/โลหะหนัก-อันตรายใกล้ตัว. ค้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565.

Greenberg, A.E., Clesceri, L.S. and Eaton, A.D. (1992). Standard methods for the examination of water and wastewater. 18th edition. Washington, D.C.: American Public Health Association (APHA). pp. 315.

Harrison, N. (2001). Inorganic contaminants in food. In Watson, D.H., Editor. Food Chemical Safety Contaminants. first Edition. Cambridge: Woodhead Publishing. pp. 148 - 168.

Huang, S., Yuan, C., Li, Q., Yang, Y., Tang, C., Ouyang, K. and Wang, B. (2017). Distribution and Risk Assessment of Heavy Metals in Soils from a Typical Pb-Zn Mining Area. Polish Journal of Environmental Studies 26(3): 1105-1112.

Jacob, J.M., Karthik, C., Saratale, R.G., Kumar, S.S., Prabakar, D., Kadirvelu, K. and Pugazhendhi, A. (2018). Biological approaches to tackle heavy metal pollution: A survey of literature. Journal of Environmental Management 217: 56 – 70.

Seema, T. and Tripathi, I.P. (2012). Lead Pollution -An Overview. International Research Journal of Environmental Sciences 1(5): 84 - 86.

Tool engineer. (2554). Wire EDM Machining. Source: https://toolengineer.files.wordpress.com/ Wire EDM Machining. Retrieved from 7 November 2565.