วัสดุผสมจากมวลรวมและเยื่อแฝกโดยใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นตัวประสาน

Main Article Content

พิไลวรรณ พรประสิทธิ์
ฐิตินันท์ รัตนพรหม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาสมบัติเชิงกลและกายภาพของวัสดุผสมที่ได้จากการผสมระหว่างมวลรวมและเยื่อแฝก มวลรวมได้แก่ ดินเหนียว ทราย ศิลาแลงและหินคลุกโดยมีปริมาณอัตราส่วนระหว่างมวลรวมแต่ละประเภทต่อเยื่อแฝกเท่ากับ 100:0 30:70 50:50 70:30 และ 0:100 ตามลำดับ งานวิจัยนี้นำน้ำยางคอมพาวนด์ที่ความเข้มข้น 20% เนื้อยางแห้งมาเป็นตัวประสาน สมบัติของวัสดุผสมที่ศึกษาได้แก่ ความต้านทานแรงดัดก่อนและหลังบ่มเร่ง ความหนาแน่น และการดูดซึมน้ำเป็นต้น จากผลการทดลองพบว่าวัสดุผสมมีค่าความต้านทานแรงดัดก่อนบ่มเร่งที่อัตราส่วนมวลรวมต่อเยื่อแฝก 30:70 ของแต่ละสูตรมีค่ามากที่สุด งานวิจัยนี้จึงเลือกวัสดุผสมระหว่างศิลาแลงต่อเยื่อแฝกที่มีค่าความต้านทานแรงดัดก่อนบ่มเร่งและการดูดซึมน้ำที่สูงที่สุดคือ 1,182 กิโลปาสคาล และ 98.65% เพื่อนำไปทดสอบการย่อยสลายในดินและความเป็นพิษต่อดิน พบว่าวัสดุผสมระหว่างศิลาแลงต่อเยื่อแฝกย่อยสลายในดินหลังจากฝังดินภายใน 90 วัน และมีปริมาณแคดเมียมและโครเมียมในดินไม่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพดินที่ใช้ประโยชน์เพื่อการอยู่อาศัยและเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยไม่เปลี่ยนค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน

Article Details

How to Cite
พรประสิทธิ์ พ. ., & รัตนพรหม ฐ. . (2019). วัสดุผสมจากมวลรวมและเยื่อแฝกโดยใช้น้ำยางธรรมชาติเป็นตัวประสาน. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 47(4), 719–728. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/250056
บท
บทความวิจัย