การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง

-

ผู้แต่ง

  • ameena chaysuwan -

คำสำคัญ:

สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ, ส่งเสริม, อนุรักษ์ป่าไม้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง 2) ประเมินคุณภาพของสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ และ 3) ประเมินความพึงพอใจของสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก ซึ่งสุ่มได้กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเจ้าฟ้าสร้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อแอนิเมชัน และ 3) แบบประเมินความ   พึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

               ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่อง ป่าแห่งความหวัง โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ประเมินทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณภาพด้านเนื้อหา คุณภาพด้านภาพและเสียง และคุณภาพด้านเทคนิค ผลการประเมินรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.54 ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และผลการประเมินความพึงพอใจของสื่อแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ป่าไม้ เรื่องป่าแห่งความหวัง แยกประเมินคุณภาพเป็น 4 ด้าน คือ ด้านเนื้อหาของสื่อแอนิเมชัน ด้านภาพและเสียง ด้านการนำเสนอ และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ ผลการประเมินรวมทั้ง 4 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเป็น 4.57 ระดับคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชุมพล จันทร์ฉลอง. (2561). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง รักษ์ผืนป่า ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์.วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ (มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 8(2),93-103.

ชุมพล จันทร์ฉลอง และภาคภูมิ ประทุมนอก. (2564). การพัฒนาสื่อแอนิเมชัน เรื่อง กล้วย ๆ. ในการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (น.1142-1149). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย: แนวคิดและการประยุกต์ใช้. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปาฏิพงษ์ ต่ายก้อนทอง และอมีนา ฉายสุวรรณ. (2564). การพัฒนาสื่อแอนิเมชันแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ไซเบอร์บูลลี่ไซเบอร์บูลลี่ .ในการประชุมวิชาการ การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 8 (น.1161-1167). คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (2566). สถานการณ์ป่าไม้ไทย 2565. สืบค้นจาก : https://www.seub.or.th/document.

รัตยากร ไทยพันธ, อุทัย คูหาพงศ์ ,กฤตภาส สงศรีอินทร์ และณัฐวิทย ภัควันสกุล. (2563). สื่อแอนิเมชันแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง ฮีโร่บนท้องถนน. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา, 2(1), (33-42).

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2555). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Vithita Admin. (2021). ANIMATION อนิเมชั่น คืออะไร? สืบค้นจาก : https://vithita.com/animation101/

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย