การพัฒนาทักษะการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรมสำรวจเชิงคณิตศาสตร์เรขาคณิตพลวัต (GSP)

ผู้แต่ง

  • ๋Jutarat Pholuang Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage

คำสำคัญ:

การสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต, กลวิธีสตาร์, โปรแกรมจีเอสพี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรม GSP ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรม GSP กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนชลประทานอนุเคราะห์ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรม GSP และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ ผลการวิจัย พบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต โดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรม GSP มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.35/80.30 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน เรื่องการสร้างพื้นฐานทางเรขาคณิต ภายหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธี STAR ร่วมกับโปรแกรม GSP สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Downloads

Download data is not yet available.

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 5-20.

ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง. (2559). การสร้างเครื่องมือการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นิภาพรรณ์ สิงห์คำ, วีระศักดิ์ ชมภูคำ, และ พิชญ์สินี ชมภูคำ. (2561). การพัฒนาชุดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือควบคู่กับโปรแกรม GSP เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารบัณฑิตวิจัย, 9(2), 1-20.

ประจบ แสงสีบับ. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้กลวิธี STAR เรื่อง โจทย์ปัญหาสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวและการแปรผัน ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหา และทักษะการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก http://ir.swu.ac.th/xmlui/bitstream/handle/123456789/4290/Prajob_S.pdf?sequence=2

พิพากษา บุญฤทธิ์ และสุณิสา สุมิรัตนะ. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความคิดทางเรขาคณิต เรื่องวงกลม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ร่วมกับแนวคิดห้องเรียนกลับด้าน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(1), 109-118.

สาลินี บุญสอน, มะลิวัลย์ ถุนาพรรณ์, และ มนชยา เจียงประดิษฐ์. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ โดยกลวิธี STAR ร่วมกับการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 16(1), 82-93.

เสรี สุขโยธิน. (2555). GSP โปรแกรมคณิตศาสตร์ที่ต้องเรียนรู้ เล่มที่ 1 ฉบับพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: เดอะบุคส์.

เสาวเพ็ญ บุญประสพ. (2563). การพัฒนาชุดการเรียนคณิตศาสตร์เรื่อง เส้นขนาน โดยใช้โปรแกรม GSP ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 31(2), 132-149.

อังคณา อุทัยรัตน์. (2555). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยกลวิธี STAR ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ). สืบค้นจาก https://ir.swu.ac.th/jspui/bitstream/ 123456789/3901/2/Aungkana_U.pdf

เอมฤดี สิงหะกุมพล, ไพศาล หวังพานิช, และ สงวนพงศ์ ชวนชม. (2562). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับกลวิธี STAR รายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สิกขา วารสารศึกษาศาสตร์, 7(1), 73-82.

Maccini, P., & Hughes, C.A. (2000). Effects of a problem-solving strategy on the introductory algebra performance of secondary students with learning disabilities. Learning disabilities research & practice, 15(1), 10-21.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย