เปรียบเทียบประสิทธิภาพการผสมเกสรของชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz.) ต่อการติดผลของแตงไทย

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ -

คำสำคัญ:

การผสมเกสร, ชันโรง, แตงไทย

บทคัดย่อ

แตงไทยเป็นพืชเศรษฐกิจที่นิยมปลูกและมีคุณค่าทางอาหารมากมาย การใช้ชันโรงที่เป็นแมลงผสมเกลรมีประสิทธิภาพในผสมพันธุ์พืชในการเกษตร วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือเปรียบเทียบประสิทธิภาพการผสมเกสรของแตงไทย โดยมีการทดลองทั้งหมด 3 การทดลอง ดังนี้ การทดลองที่ 1 ใช้ชันโรงขนเงิน การทดลองที่ 2 ใช้การผสมเกสรจากแรงงานคนด้วยมือ และการทดลองที่ 3 ชุดควบคุม (ไม่มีรังชันโรง) ทำการทดลองด้านหลังศูนย์วิทยาศาสตร์ การทดลองละ 3 ซ้ำ โดยโรงเรือนมีขนาด 2 x 2.5 x 2 เมตร คลุมด้วยมุ้งไนล่อน ภายในโรงเรือนมีต้นแตงไทยทั้งหมด 10 ต้น ทำการเปรียบเทียบระยะเวลาการติดผล จำนวนผล และน้ำหนักผลของแตงไทย ผลการทดลองพบว่าระยะเวลาในการติดผล จำนวนผล และน้ำหนักผลของแตงไทยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น (p<0.05) โดยการใช้ชันโรงขนเงินมีระยะเวลาในการติดผลเร็วที่สุดเท่ากับ 4.66+1.28 วัน ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญกับการใช้แรงงานคน และชุดควบคุมซึ่งมีการติดผลเท่ากับ 7.33+2.56 และ 10.33+2.64 วัน ตามลําดับ และการใช้ชันโรงขนเงินมีจำนวนผลแตงไทยเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 10.58+2.42 ผล ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญกับการใช้แรงงานคน และชุดควบคุมซึ่งมีจำนวนผลแตงไทยเฉลี่ยเท่ากับ 7.64+2.16 และ 4.22+1.44 ผล ตามลําดับ ในขณะที่น้ำหนักผลแตงไทยเฉลี่ยเท่ากับ 594.38+1.64 กรัม ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญกับการใช้แรงงานคน และชุดควบคุมซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ยเท่ากับ 528.12+2.62 และ 428.62+1.38 กรัม ตามลําดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

ณัฏฐ์พัชร เถียรวรกานต์ ละไม ยะปะนัน จิตติมา ตั้งศิริมงคล และสุชาดา โทผล. (2560). ประสิทธิภาพการผสมเกสรของชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni) ในการเพิ่มผลผลิตมะระจีนในสภาพไร่. วารสารวิจัย มดส, 10(3), 171-186.

ธีรพงษ์ อาจภักดี และอัญชลี สวาสดิ์ธรรม. (2564). ประสิทธิภาพการใช้ชันโรงขนเงิน (Tetragonula pagdeni Schwarz) ในการผสมเกสรเมล่อนในสภาพโรงเรือน. วารสารแก่นเกษตร, 49(3), 701-710.

พิชญาดา เจริญจิต. (2563). ชันโรงหรือผึ้งจิ๋ว สุดยอดแมลงผสมเกสรพืช. สืบค้น 2 กุมภาพันธ์ 2566, จาก https://www.technologychaoban.com/agricultural-technology/article_71992.

สมนึก บุญเกิด และอรุณรัตน์ คมขำ. (2553). ศึกษาอนุกรมวิธานชันโรงในภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารวิจัยรามแหงคำแหง, 12(2), 1-24.

อัญชลี สวาสดิ์ธรรม. (2556). มหัศจรรย์ชันโรง. ปทุมธานี: บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จํากัด.

Benedick, S., Gansau, J.A., & Ahmad, A.H. (2021). Foraging Behaviour of Heterotrigona itama (Apidae: Meliponini) in Residential Areas. Pertanika Journal of Tropical Agricultural Science, 44(2), 485-502.

Kwapong, P., Aidoo, K., R. Combey, R., & Arikari, A. (2010). Stingless Bees: Importance, Management and Utilisation: A Training Manual for Stingless Bee Keeping. Ghana: A division of Macmillan Publishers Limited.

Rasmussen, C., & Cameron, S.A. (2010). Global stingless bee phylogeny supports ancient divergence, vicariance, and long distance dispersal. Biological Journal of the Linnean Society, 99(1), 206-232.

Vijayakumar, K., & Jeyaraaj, R. (2020). Taxonomic notes on Tetragonula pagdeni Schwarz (Apidae: Meliponini) from India. International Journal of Advanced Life Sciences, 13(1), 22-26.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-30

ฉบับ

บท

บทความวิจัย