การใช้เพอร์ไลต์ปรับปรุงความชื้นในดินทรายจัดในตำบลทับพริก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว
คำสำคัญ:
เพอร์ไลต์ , วัสดุปรับปรุงดิน, น้ำใช้ประโยชน์ได้, ดินทรายบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของเพอร์ไลต์ต่อน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดิน โดยใช้เพอร์ไลต์ผสมกับดินทรายจัดในแปลงทดลอง การออกแบบแปลงทดลองในการวิจัยใช้วิธีสุ่มบล็อกสมบูรณ์โดยประกอบด้วย 2 ทรีตเมนต์ 3 ซ้ำ ได้แก่ แปลงทดลองที่ผสมเพอร์ไลต์ในอัตราส่วน 62.5 กิโลกรัม/ไร่และไม่ผสมเพอร์ไลต์หรือแปลงควบคุม ตัวอย่างดินถูกเก็บตัวอย่างแบบไม่ถูกรบกวนด้วยคอร์เก็บดินเพื่อนำมาวิเคราะห์สมบัติทางฟิสิกส์ของดิน และน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินโดยวิเคราะห์จากผลต่างของระดับความชื้นที่ความจุสนาม กับจุดเหี่ยวถาวร ผลการศึกษาพบว่าดินในพื้นที่ศึกษามีลักษณะเนื้อดินเป็นดินทรายประกอบด้วยทราย 89.1 % ทรายแป้ง 7.3 % และ ดินเหนียว 3.6 % มีค่าความหนาแน่นรวม 1.46 กรัม/ลบ.ซม. มีค่าความหนาแน่นของอนุภาคดิน 2.58 กรัม/ลบ.ซม และมีค่าความพรุนประมาณ 38 % ผลการศึกษาน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินพบว่าดินก่อนการปรับปรุงดินมีค่าไม่ต่างกัน แต่หลังจากปรับปรุงดิน 60 วัน แปลงทดลองที่ปรับปรุงดินด้วยเพอร์ไลต์ในอัตราส่วน 62.5 กิโลกรัม/ไร่ มีค่าน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินเฉลี่ย 12.48 % สูงกว่าแปลงทดลองที่ไม่ได้ปรับปรุงดินที่มีค่าเฉลี่ย 8.58 % ผลการศึกษาน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินหลังปรับปรุงดิน 120 วัน พบว่าสอดคล้องกับ 60 วัน โดยแปลงทดลองที่ปรับปรุงดินด้วยเพอร์ไลต์ มีค่าน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินเฉลี่ย 11.19 % สูงกว่าแปลงทดลองที่ไม่ได้ปรับปรุงดินที่มีค่าเฉลี่ย 9.15 % ผลการวิจัยนี้จึงสามารถสรุปได้ว่าเพอร์ไลต์สามารถใช้เป็นวัสดุปรับปรุงความชื้นในดิน เพิ่มปริมาณน้ำใช้ประโยชน์ได้ของดินส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชจึงสามารถนำมาใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้
Downloads
References
กรมพัฒนาที่ดิน. (2540 ก). การจัดการดินทราย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2540 ข). การจัดการดินและพืชเพื่อปรับปรุงดินอินทรียวัตถุต่ำ. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
กรมพัฒนาที่ดิน. (2553). ความสำคัญของดินและปุ๋ย. กรุงเทพฯ : กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
เอิบ เขียวรื่นรมย์. (2533). ดินของประเทศไทย ลักษณะ การกระจาย และการใช้. ภาควิชาปฐพีวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิคม จึงอยู่สุข. (2530). ประโยชน์ของหินภูเขาไฟเนื้อแก้วเพอร์ไลต์ในงานอุตสาหกรรม. ใน การประชุมเหมืองแร่ (133-140), กรุงเทพ: กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี.
สำนักทรัพยากรแร่ กรมทรัพยากรธรณี. (2549). สมบัติของหินเพอร์ไลต์ และการใช้ประโยชน์. กรุงเทพฯ, กรมทรัพยากรธรณี.
สำนักวิจัยและพัฒนาการจัดการที่ดิน. (2553). เอกสารวิชาการ เรื่อง ความเสื่อมโทรมของที่ดิน และการจัดการแก้ไข. กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
บุรี บุญสมภพพันธ์. (2531). ดินทราย. วารสารพัฒนาที่ดิน, 25, 19-23.
รัตถชล อ่างมณี. (2565). ผลของการใช้เพอร์ไลต์ที่ปรับสภาพด้วยความร้อนเป็นสารปรับปรุงดินต่อผลผลิตของมันสำปะหลัง และสมบัติของดินทรายจัด ในตำบลเพนียด อำเภอโคกสำโรง จังหวัดลพบุรี, วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 7(2), 29-44.
Bastani, D., A.A. Safekordi, A. Alihosseini and V. Taghikhani. (2006). Study of Oil Sorption by Expanded Perlite at 298.15 K. Separation and Purification Technology, 52(2), 295-300.
Boumnijel, I., H. Ben Amor and C. Chtara. (2013). Effect of Calcinated and Activated Perlite on Improving Efficiency of Dihydrate Process for Phosphoric Acid. International Journal of Mineral Processing, 125, 112-117.
Chesterman, C.W. (1995). Industrial Mineral and Rocks, New York : American Institute of Mining, Metallurgical and petroleum Engineering, Inc.
Jamei, M., Guiras, H., Chtourou, Y., Kallel, A., Romero, E., & Georgopoulos, I. (2011). Water retention properties of perlite as a material with crushable soft particles. Engineering Geology, 122(3), 261-271.
Maxim L. Daniel, Ron Niebo & Ernest E. McConnell. (2014), Perlite toxicology and epidemiology – a review, Inhalation Toxicology. Inhal Toxicol, 26(5), 259-270.
Nguyen Thanh, D., M. Singh, P. Ulbrich, N. Strnadova and F. Štepánek. (2011). Perlite Incorporating Fe2o3 and A-Mno2 Nanomaterials: Preparation and Evaluation of a New Adsorbent for as(V) Removal. Separation and Purification Technology, 82, 93-101.
Raja Gopalan, N. S., Sharma, R., & Mohapatra, S. (2022). Probing into the unique relationship between a soil bacterium, Pseudomonas putida AKMP7 and Arabidopsis thaliana: A case of “conditional pathogenesis”. Plant Physiology and Biochemistry, 183, 46-55.
Wevar Oller, A. L., Regis, S., Armendariz, A. L., Talano, M. A., & Agostini, E. (2020). Improving soybean growth under arsenic stress by inoculation with native arsenic-resistant bacteria. Plant Physiology and Biochemistry, 155, 85-92.
Xiong, H., Yuan, K., Xu, J., & Wen, M. (2021). Pore structure, adsorption, and water absorption of expanded perlite mortar in external thermal insulation composite system during aging. Cement and Concrete Composites, 116, 103900.
Yilmazer, S. and M.B. Ozdeniz. (2005). The Effect of Moisture Content on Sound Absorption of Expanded Perlite Plates. Building and Environment, 40(3), 311-318.