การสกัดเพคตินจากเปลือกมะนาวและผลของเพคตินต่อการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคติก

ผู้แต่ง

  • ขวัญคณิศร์ อินทรตระกูล มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สายใจ พิมดา
  • สินิทธา สุทธิโส

คำสำคัญ:

เพคติน, เปลือกมะนาว, การสกัด, แบคทีเรียแลคติก

บทคัดย่อ

เพคตินเป็นพอลิแซคคาไรด์ที่พบในผนังเซลล์พืช นิยมนำไปประยุกต์ใช้เป็นสารทำให้เกิดเจล
สารเพิ่มความคงตัวและเพิ่มความข้นหนืดในผลิตภัณฑ์อาหาร เพคตินพบมากในเปลือกของผลไม้ ดังนั้นเปลือกมะนาวเหลือทิ้งจึงเป็นวัตถุดิบหนึ่งที่น่าสนใจในการนำมาสกัดเพคติน ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยนำของเหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าของเปลือกมะนาวอีกด้วย โดยงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากเปลือกมะนาวโดยใช้กรดไฮโดรคลอริกเป็นตัวทำละลาย พบว่าเมื่อสกัดที่อุณหภูมิ 95 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 60 นาที ให้ผลผลิตเพคตินสูงสุด โดยคิดเป็นร้อยละ 37.70 ของน้ำหนักแห้ง นอกจากนี้เมื่อนำเพคตินจากเปลือกมะนาวไปศึกษาความสามารถในการส่งเสริมการเจริญเติบโตของแบคทีเรียแลคติก พบว่าเมื่อเสริมเพคตินความเข้มข้น 2% (W/V) ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ MRS broth จะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของ L. plantarum TISTR875 ได้สูงกว่าการไม่เติมเพคติน โดยมีการเจริญเติบโตสูงสุดเท่ากับ 7.30 × 108 CFU/ml เมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 6 ชั่วโมง ดังนั้นจากผลการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้ที่จะนำเพคตินจากเปลือกมะนาวไปใช้ในรูปของพรีไบโอติกเพื่อประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพต่อไป 

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรวิทย์ สักแกแก้ว. (2563). คุณประโยชน์ของเพคตินจากอาหารเหลือทิ้ง. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(1),487-499.

ธนาวรรณ สุขเกษม. (2556). การสกัดเพคตินจากกะหล่ำปลีภูทับเบิก. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชียฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 10(2), 262-268.

ธานุวัฒน์ ลาภตันศุภผล, ปฏิมา ทองขวัญ และ ศิริลักษณ์ สรงพรมทิพย์. (2556). การสกัดเพคตินจากเปลือกผัก และผลไม้. วารสารวิทยาศาสตร์เกษตร, 4(2), 433-436.

เพ็ญวรัตน์ พันธ์ภัทรชัย, อัจฉรา ไชยยา และ โบว์ ถิ่นโพธิ์วงศ์. (2560). สภาวะที่เหมาะสมในการสกัดเพคตินจากกระเจี๊ยบเขียว ใน สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย, รายงานการประชุมวิชาการสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งผระเทศไทยระดับชาติครั้งที่ 8 และระดับนานาชาติครั้งที่ 10 ประจำปี 2560 (237-242). นนทบุรี: สมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย.

Canteri-Schemin, M.H., Ramos, Fertonani H.C., Waszczynskyj, N., and Wosiacki G. (2005). Extraction of pectin from apple pomace. Brazilian Archives of Biology and Technology, 48(2), 259-266.

Chatterjee, E., Manuel, S.G., and Hassan, S.S. (2016). Effect of fruit pectin on growth of lactic acid bacteria. Journal of Probiotics & Health, 4(2), 1000147.

Hamidon N.H., and Zaidel D.N.A., (2017). Effect of extraction conditions on pectin yield extracted from sweet potato peels residues using hydrochloric acid. Chemical Engineering Transactions, 56, 979-984.

Maran, P.J., Sivakumar, V., Thirugnanasambandham, K., and Sridhar, R. (2013). Optimization of microwave assisted extraction of pectin from orange peel. Carbohydrate Polymer, 97, 703-709.

Masmoudi, M., Besbes S., Chaabouni, M., Robert, C., Paquot, M., Blecker, C., and Attia H., (2008). Optimization of pectin extraction from lemon byproduct with acidified date juice using response surface methodology. Carbohydrate Polymers, 74, 185-192.

Pagan, J., Ibarz, A., Lorca. M., Pagan, A., Barbosa, C.G.V. (2001). Extraction and Characterization of Pectin from Stored Peach Pomace. Food Research international, 24, 605-612.

Seixas, F.L., Fukuda, D.L., Turbiani, F.R.B., Garcia, P.S., Petkowicz, C.L.O., Jagadevan, S., and Gimenes, M.L. (2014). Extraction of pectin from passion fruit peel (Passiflora edulis f. flavicarpa) by microwave-induced heating. Food Hydrocolloid, 38, 186-192.

Sen, A., Manuel S. G., Kale, R.D. (2014). Fruit waste pectin in enhancing the establishment of probiotic bacteria. Journal of Nutritional Health & Food Engineering, 1(3), 124-126.

Tongkham, N., Juntasalay, B., Lasunon, P. and Sengkhamparn, N. (2017). Dragon fruit peel pectin: Microwave-assisted extraction and fuzzy assessment. Agriculture and Natural Resources, 51, 262-267.

Voragen, A.G.J., Pilnik, W., Thibault, J.F., Axelos, M.A.V., and Renard, C.M.G.C., (1995). Pectins. In: Stephen, A.M. (Ed.), Food polysaccharide and their application. Marcel Dekker, New YorkXue, Z.H., Zhang, X., Zhang, Z.J., Liu, J.H., Wang, Y.F., Chen, D.X., and Long, L.S. (2011). Optimization of pectin extraction from citrus peel by response surface methodology. Food Science, 18, 128-132.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-31