ผลของน้ำมะพร้าวต่อการเจริญเติบโตของผักชีในระบบการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์

ผู้แต่ง

  • วัฒนา อัจฉริยะโพธา -

คำสำคัญ:

น้ำมะพร้าว, ผักชี, แบบไฮโดรโปนิกส์

บทคัดย่อ

ผักชี (Coriandrum sativum L.) เป็นพืชผักสวนครัวที่มีกลิ่นหอมเฉพาะตัวนิยมนํามาใช้ประกอบอาหารต่างๆ เพื่อทําให้อาหารมีกลิ่นหอมน่ารับประทานมากขึ้น ปัจจุบันผักชีเป็นพืชที่มีการนิยมบริโภคในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น อินเดีย แคนาดา และมีการปลูกกันเองภายในพื้นที่เล็กๆ น้ำมะพร้าวมีฮอร์โมน ไซโทไคนิน ที่กระตุ้นให้เซลล์เกิดการเจริญเติบโตและแบ่งเซลล์ในระบบเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ในงานวิจัยนี้ศึกษาถึงผลของน้ำมะพร้าวเป็นสารเร่งการเจริญเติบโตของผักชีด้วยวิธีการปลูกแบบไฮโดรโปนิกส์โดยใช้วัสดุปลูก เพอร์ไรท์ เวอร์มิคูไลท์ และฟองน้ำ โดยผลการศึกษาในระยะเวลา 45 วัน ได้ผลว่าในการเจริญเติบโตช่วง 13-17 วัน ต้นผักชีที่ได้รับน้ำมะพร้าวมีอัตราการเจริญเติบโตสูงกว่าชุดที่ไม่ได้เติมน้ำมะพร้าวแต่เมื่อเวลาผ่านไปต้นผักชีที่ได้รับน้ำมะพร้าวไม่มีการเติบโตเพิ่มขึ้น ค่า EC อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน ค่า pH มีค่าเป็นกลางจนถึงด่างเล็กน้อยซึ่งอาจเป็นปัจจัยของการเจริญเติบโตของต้นผักชี ดังนั้นน้ำมะพร้าวมีส่วนช่วยในการเร่งการเจริญเติบโตของต้นผักชีในระยะแรกเมื่อเทียบกับผักชีที่ปลูกโดยไม่ใช้น้ำมะพร้าวแต่ในระยะหลังจากวันที่ 17 ผักชีที่ปลูกโดยใช้น้ำมะพร้าวเป็นสารเสริมการเจริญเติบโตจะไม่มีการเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนกิ่งและผักชีเริ่มตายในระยะต่อมา

Downloads

Download data is not yet available.

References

คํานูณ กาญจนภูมิ. (2542). การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ด่านสุทธาการพิมพ์. กรุงเทพฯ.

ธีรพล พรสวัสดิ์ชัย. (2535). ปัจจัยที่มีอิทธิพลตอการงอกและการพัฒนาของโปรโตคอร์มของรองเท้านารีเหลืองปราจีน. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

นพมาศ สุนทรเจริญนนท์. (2556). ผักชีของไทยดังไกลถึงญี่ปุ่น...แล้วประโยชน์คืออะไร. บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล [ออนไลน์]. สืบค้นจาก http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/336/ผักชีไทยดังไกลถึงญี่ปุ่น.

นฤมล วชิรปัทมา, ฑิตฐิตา ศรีภุมมา, สุทธินี ไมตรีสรสันต์ และ ภัทริน จำเริญเจือ. (2554). การหาปริมาณโพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และคลอไรด์ในน้ำมะพร้าวด้วยเทคนิค Capillary Electrophoresis. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(4).

รัชนี นิธากร. (2548). การปลูกผักชีแบบไมใชดินในเครื่องปลูกชนิดต่าง ๆ จากท้องถิ่นจังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฏกําแพงเพชร, กําแพงเพชร.

สุดชล วุ้นประเสริฐ. (2555). การศึกษาสัดส่วนและความเข้มข้นของธาตุอาหารพืชในการผลิตผักคะน้าและผักชี ในระบบการปลูกพืชแบบไม่ใช้ดินในระบบปิด. งานการวิจัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, นครราชสีมา.

อรพิน เสละคร, สุดารัตน์ สุตพันธ์, คงเดช ทะสีนาม และ ธันวมาส กาศสนุก. (2563). ความเข้มข้นของน้ำมะพร้าวที่เหมาะสมต่อการแตกหน่อของกล้วยนากภายใต้สภาวะปลอดเชื้อ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 5(1).

อรรถพร สุบุญสันต์. (2553). การผลิตผักปลอดภัยในระบบไฮโดรโพนิกส์. เอกสารประกอบโครงการพัฒนาวิชาการหลักสูตรเบื้องต้น. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน,กรุงเทพฯ.

อภิชัย อารยะเจริญชัย. (2552). สารานุกรมผลิตผลและผลิตภัณฑ์จากพืช. [ออนไลน์] สืบค้นจาก http:// www.sc.mahidol.ac.th.

อภิญญ์ คุ่ยชูชีพ และ ธวัชชัย ศุภดิษฐ์. (2555). การใช้น้ำสกัดชีวภาพจากน้ำมะพร้าวแต่ละระดับเป็นอาหารเสริมสำหรับการปลูกถั่วเหลือง. วารสารสมาคมนักวิจัย, 17(1).

Neumann, K-H, Kumar, A. & Imani J. (2009). Plant cell and tissue culture – A Tool in Biotechnology. Basics and Application. Berlin Heidelberg: Springer-Verlag.

Pan, R.C., Q.S. Ye and C.S. Hew. (1997). Physiology of Cymbidium sinense: A review. Scientia Horticulturae, 70(2-3): 123-129.

Rattanapan, W. & Yeetchan, N. (2016). The Effect of Coconut Water and BA on Shoot Induction of Musa(AA group) ‘Kluai Leb Mu Nang’ under Aseptic Condition of 4 Cultivars. Songklanakarin Journal of Plant Science, 3(Suppl. I), 65-69. (in Thai)

Sudhanyaratana, N., Aoki, S. & Rattana, K. (2016). Tissue Culture and the Analysis of Ploidy Stability of Musa(ABB) ‘Namwa Mali-Ong’. SDU Research Journal, 9(3), 1-14. (in Thai).

Opencart2004 (นามแฝง). (2565). ค่า EC และ pH สำหรับพืชแต่ละชนิด. บทความ [ออนไลน์]. สืบค้นได้จาก http:// www. www.ezgarden.ne.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-09-30