ผลการใช้การ์ตูนแอนิเมชัน เพื่อส่งเสริมความรู้และป้องกันโรคฟันผุในเด็ก เรื่อง หมีน้อยฟันผุ

ผู้แต่ง

  • ameena chaysuwan -

คำสำคัญ:

ผลการใช้, การ์ตูนแอนิเมชัน, โรคฟันผุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชันส่งเสริมความรู้และป้องกันโรคฟันผุในเด็ก เพื่อประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชันโดยผู้เชี่ยวชาญ และเพื่อประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมความรู้และป้องกันโรคฟันผุในเด็ก เรื่อง หมีน้อยฟันผุ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ซึ่งสุ่มได้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษา ปีที่1-4 โรงเรียนวัดสามัคคีสุทธาวาส ซอยจรัญสนิทวงศ์ 85 แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) การ์ตูนแอนิเมชัน เพื่อส่งเสริมความรู้และป้องกันโรคฟันผุในเด็ก เรื่อง หมีน้อยฟันผุ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2) แบบประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน และแบบประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชัน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

          ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินคุณภาพของการ์ตูนแอนิเมชัน โดยผู้เชี่ยวชาญ มีคุณภาพโดยรวมทั้ง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.70 อยู่ในระดับดีมากและผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อการ์ตูนแอนิเมชันเพื่อส่งเสริมความรู้และป้องกันโรคฟันผุในเด็ก เรื่อง หมีน้อยฟันผุ โดยภาพรวมของคุณภาพทั้ง 4 ด้านมีค่าเฉลี่ยรวมเป็น 4.55 อยู่ในระดับดีมาก

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). เด็กไทยกับโรคฟันผุ ปัญหาใหญ่ที่ส่งผลถึงอนาคต. สืบค้น จาก https://multimedia.anamai.moph.go.th/help-knowledgs/kid-and-decay-tooth

ชุมพล จันทร์ฉลอง , และ เบญจรัตน์ เขียวคราม .(2564). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เพื่อส่งเสริมความรู้ เรื่อง โควิด-19. ใน งานประชุมวารประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน (ASTC2021) ครั้งที่ 8, ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ.

ดวงเนตร คงปรีพันธุ์. (2541). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการจำเนื้อหา ที่เป็นกระบวนการของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินที่เรียนด้วยบทเรียนคอมพิวเตอร์ : ครุศาสตร์มหาบัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงพร ไม้ประเสริฐ และอลงกรณ์ ม่วงไหม. (2563). การพัฒนาแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ , 6(1), 99-109.

นาตยา ร่วมสมัคร อมีนา ฉายสุวรรณ และชุมพล จันทร์ฉลอง. (2564). การศึกษาคุณภาพและความพึงพอใจของการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่องผลไม้มหัศจรรย์. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2(3), 14-24.

ระพินทร์ โพธิ์ศรี. (2553). สถิติเพื่อการวิจัย = Statistics for research (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย.(2563). แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564. สืบค้นจากhttp://https://www.chiangmaihealth.go.th/ cmpho_web/docu

ment/210317161594340834.pdf

สมบัติ ท้ายเรือคำ. (2553). สถิติขั้นสูงสำหรับการวิจัยทางการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ภัทรสุดา รอดอ้น, พยงค์ เทพอักษร ,นิมมานรดี ชูยัง,ภัทราภรณ์ เต็งโรจย์นภาพร. (2562). ผลของ โปรแกรมทันตสุขศึกษาผ่านสื่อเฟซบุ๊กต่อความรู้การรับรู้ความสามารถของตนเองและการปฏิบัติในการ ดูแลทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนเทศบาล 1 สังขวิทย์ จังหวัดตรัง. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(1), 26-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-03-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย