ผลของการเสริมผักที่มีแคโรทีนอยด์ในอาหารต่อความเข้มสีของปลากัด

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรใมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

แคโรทีนอยด์, ความเข้มสี, ปลากัด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเปรียบเทียบผลจากการเสริมผักที่มีแคโรทีนอยด์ได้แก่ ต้นหอม ขึ้นฉ่าย และผักบุ้งจีนต่อความเข้มของสีปลากัด ให้อาหารปลาสำเร็จรูปเสริมแคโรทีนอยด์จากต้นหอม ขึ้นฉ่าย ผักบุ้งจีน อาหารปลาสำเร็จรูป (ชุดควบคุมเปรียบเทียบ) ปริมาณ 0.02 กรัม ทุกวันใช้ปลากัดเพศผู้จำนวน 10 ตัว ทำการวัดความเข้มสีของปลากัดด้วยเครื่องวัดความเข้มสีทุกเดือน วัด 3 ครั้ง ทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลการทดลองพบว่าอาหารปลาสำเร็จรูปเสริมแคโรทีนอยด์จากต้นหอมมีความเข้มสีของปลากัดสูงสุด เมื่อเปรียบเทียบกับอาหารปลาสำเร็จรูปแบบเสริมแคโรทีนอยด์จากขึ้นฉ่ายและผักบุ้งจีน โดยมีค่าความเข้มสีของปลากัดมีค่าสูงสุด ค่าความสว่าง (L*) ค่าความเข้มเฉดสีแดง (a*) และค่าความเข้มเฉดสีเหลือง (b*) เท่ากับ 16.58+13.71, 9.50+14.28 และ 7.42+5.48 ตามลำดับ ในขณะที่อาหารสำเร็จรูปแบบเสริมแคโรทีนอยด์จากผักบุ้งจีนและขึ้นฉ่ายมีค่าเท่ากับ 7.42+14.54, 5.53+5.20, 4.68+8.35 และ 5.47+5.02, 4.57+5.06, 4.06+7.06 ตามลำดับ

Downloads

Download data is not yet available.

References

จตุรนต์ คบแก้ว. (2564). ปลากัด…อัญมณีใต้น้ำ รักสงบ รบไม่ขลาด สร้างแบรนด์ตีตลาดโลก. สืบค้นจาก

https://www.salika.co/2020/09/14/siamese-fighting-fish/

ธีรนาถ สุวรรณเรือง. (2560). ปริมาณแคโรทีนอยด์ทั้งหมดในผักสด. วารสารเกษตรราชภัฏ. 16(2), 40-45.

นงลักษณ์ สำราญราษฎร์ และสมถวิล จริตควร. (2562). ผลของแคโรทีนอยด์ชนิดต่าง ๆ ต่อการเจริญเติบโต

และการเพิ่มสีในปลาการ์ตูนแดง (Premnas biaculeatus Bloch, 1790). วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. 11(1), 135-148.

บรรเจิด สอนสุภาพ. (2561). ผลการใช้แคโรทีนอยด์จากธรรมชาติเป็นแหล่งสารสีในอาหารปลาทอง. วารสารวิจัยเทคโนโลยีการประมง. 12(1), 35-48.

วรรณวิมล คล้ายประดิษฐ์ และมารุจ ลิมปะวัฒนะ. (2553). แอสตาแซนธิน : คุณค่าที่มากกว่าความเป็นสี. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม. 5(1), 7-12.

สถาบันวิจัยสัตว์น้ำสวยงามและพรรณไม้น้ำ กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2559). มาตรฐานปลากัดสวยงามในประเทศไทย (ฉบับปรับปรุงปี พ.ศ.2559). นนทบุรี: หจก.วนิดาการพิมพ์ (สาขาที่ 1).

สิทธิศักดิ์ นันทเทิม. (2550). มหัศจรรย์ปลากัดไทย. กรุงเทพฯ: คอมฟอร์ม.

สุจินต์ หนูขวัญ และอรุณี รอดลอย. (2554). ปลากัดหม้อ และแคโรทีนอยด์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

Das, A.P. & Biswas, S.P. (2016). Carotenoids and pigmentation in ornamental fish. Journal of Aquaculture & Marine Biology. 4(4), DOI: 10.15406/jamb.2016.04.00093.

Gupta, S.K., Jha, A.K., Pal, A.K. & Venkateshwarlu, G. (2007). Use of natural carotenoids for pigmentation in fishes. Natural Product Radiance. 6(1), 46-49.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27