การเปรียบเทียบธาตุอาหารจากมูลไส้เดือนดิน AF ต่อการเจริญเติบโตของผักชี

ผู้แต่ง

  • ณฐพงศ์ เมธินธรังสรรค์

คำสำคัญ:

ธาตุอาหาร, มูลไส้เดือนดิน, การเจริญเติบโต, ผักชี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อเปรียบเทียบธาตุอาหารจากมูลไส้เดือนดิน (African Night Crawler: Eudrilus eugeniae) AF ต่อการเจริญเติบโตของผักชี โดยใช้สูตรอาหารดังนี้ แตงโม + วัสดุรองพื้น, ฝรั่ง + วัสดุรองพื้น, แตงโม + ฝรั่ง + วัสดุรองพื้น และวัสดุรองพื้น (ชุดควบคุม) นำปุ๋ยมูลไส้เดือนดิน AF ที่ได้แต่ละการทดลองวิเคราะห์ปริมาณไนโตรเจนทั้งหมด ปริมาณฟอสฟอรัสทั้งหมด ปริมาณโพแทสเซียมทั้งหมด ปริมาณอินทรีย์คาร์บอน ปริมาณอินทรียวัตถุ อัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจน ค่าความเป็นกรดและด่างและค่าการนำไฟฟ้า ผลการทดลองพบว่าสูตรอาหารแตงโม + ฝรั่ง + วัสดุรองพื้นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรอาหารอื่น เปอร์เซ็นต์ทั้งหมดของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพรแทสเซียมและสารอินทรีย์ในดินเท่ากับ 1.78, 1.62, 1.96 และ 39.06 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในการเจริญเติบโตของผักชีพบว่าทุกสูตรอาหารไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ สูตรอาหารแตงโม + ฝรั่ง + วัสดุรองพื้นมีผลต่อการเจริญเติบโตของผักชีสูงสุด โดยมีความสูงลำต้น ความกว้างของใบ ความยาวของใบ น้ำหนักสด น้ำหนักแห้ง และน้ำหนักผลผลิตมีค่าเท่ากับ 8.75, 3.06, 3.80, 7.89, 1.31 และ 205.08 กรัม ตามลำดับ เมื่อเปรียบกับสูตรอาหารอื่น

Downloads

Download data is not yet available.

References

กลุ่มวิจัยเกษตรเคมี. (2551). คู่มือวิธีวิเคราะห์ปุ๋ยอินทรีย์. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.

นริสรา พานพ่วง และสาวิตรี จันทรานุรักษ์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชในปุ๋ยหมักธรรมชาติ ปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae และปุ๋ยหมักพด.1. การประชุมทางวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 50 (หน้า 442-447). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นริสรา พานพ่วง, สาวิตรี จันทรานุรักษ์ และพีรพงษ์ เชาวนพงษ์. (2557). การศึกษาและพัฒนาวิธีการผลิตปุ๋ยมูลไส้เดือนโดยไส้เดือนดิน Eudrilus eugeniae. ใน การประชุมวิชาการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ครั้งที่ 52 (หน้า 385-392). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นันทวุฒิ จำปางาม. (2560). เทคโนโลยีปุ๋ยหมักไส้เดือนดินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 11(2), 70-81.

บัญชา รัตนีทู. (2552). ปุ๋ยอินทรีย์ฟื้นฟูสภาพดิน. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 1(2), 1-16.

เบ็ญจวรรณ ชุติชูเดช, ประสิทธิ์ ชุติชูเดช และ Sela, K. (2563). ผลของมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตของเบบี้ฮ่องเต้. วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 39(1), 103-112.

พิชญ์ ตั้งสมบัติวิจิตร และอุทาน บูรณศักดิ์ศรี. (2562). ปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดิน: เทคโนโลยีชีววิถีเพื่อการอนุรักษ์ดินและการจัดการขยะอินทรีย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 14(2), 170-181.

วนิดา ชัยชนะ. (2562). ประสิทธิภาพของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของผักบุ้งจีน. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1), 81-90.

วราภรณ์ ปัญญาวดี. (2551). การขับเคลื่อนสู่วิถีเกษตรปลอดภัยจากสารพิษ: กรณีการปลูกพืชผัก. วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์, 26(1), 107-127.

สุลีลัก อารักษณ์ธรรม และสุชาดา สานุสันต์. (2557). อิทธิพลของปุ๋ยหมักมูลไส้เดือนดินจากไส้เดือนดินต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางฟิสิกส์ดินและการปรับปรุงโครงสร้างของดิน (รายงานการวิจัย) เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

โสฬส แซ่ลิ้ม. (2559). ปุ๋ยอินทรีย์และการใช้ประโยชน์ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: กลุ่มวิจัยและพัฒนาการจัดการอินทรีย์วัตถุ กองเทคโนโลยีชีวภาพทางดิน กรมพัฒนาที่ดิน.

Blakemore, R.J. (2015). Eco-taxonomic profile of an iconic vermicomposter - the ‘african nightcrawler’ earthworm, Eudrilus eugeniae (Kinberg, 1867). African Invertebrates,56(3), 527-548.

Jorge, D., Edwards, C.A. & John, A. (2001). The biology and population dynamics of Eudrilus eugeniae (Kinberg) (Oligochaeta) in cattle waste solids. Pedobiologia, 45, 341-353.

Prasitket J., Chuvorrivate N., Ruengnab M., Padung T., Choulvanapong P. & Reanjareang S. (2005). Organic fertilizer: Production, utilization and quality. Bangkok: Department of Agriculture.

Suthar, S. (2007). Nutrient changes and biodynamics of epigenic earthworm, Perionyx excavatus (Perrier) during recycling of some agriculture waste. Bioresource Technology, 98(8), 1608–1614.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30