ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานดับเพลิงเทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อาจารย์ ดร.ชัยวัฒน์ เผดิมรอด

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุ, พนักงานดับเพลิง, อัคคีภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานดับเพลิง เทศบาลเมืองท่าโขลง จังหวัดปทุมธานี ในพนักงานดับเพลิง จำนวน 50 คน โดยใช้แบบสอบถามตั้งแต่เดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2561 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS Version 18 ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่าพนักงานดับเพลิงส่วนใหญ่มีอายุ 20 – 44 ปี (ร้อยละ 58.00)  โสด (ร้อยละ 60.00)  อายุงาน 1 – 10 ปี (ร้อยละ 70.00)  ทำหน้าที่พนักงานดับเพลิง (ร้อยละ 76.00)  ทำงานเฉลี่ย 72 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (ร้อยละ 96.00) โดยทำงานสัปดาห์ละ 4  วัน แบ่งเป็นทำงาน 24 ชั่วโมง 2 วันต่อสัปดาห์และทำงาน 12 ชั่วโมง 2 วันต่อสัปดาห์   เคยทำงานระงับอัคคีภัยขนาดใหญ่ (ร้อยละ 86.00)  และเคยเกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน (ร้อยละ70.00)  พักผ่อนวันละ 8 – 10 ชั่วโมง (ร้อยละ 72.00)  มีทัศนคติความปลอดภัยระดับมาก (ร้อยละ 38.00)  สามารถใช้อุปกรณ์ดับเพลิงได้ทันทีเมื่อถึงที่เกิดเหตุ (ร้อยละ 100.00)  ต้องทำงานในที่มืด สัมผัสเขม่า ควัน ฝุ่นละออง และสารเคมี (ร้อยละ 96.00) การสนับสนุนเสื้อคลุมดับเพลิงและอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจเพียงพอ (ร้อยละ 86.00)  มีมาตรการด้านความปลอดภัยระดับดี  (ร้อยละ 56.00) จากการศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานดับเพลิงอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05)  คือ ปัจจัยด้านการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยในการสนับสนุนอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล ดังนั้น สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดปทุมธานี ควรมีการสนับสนุนด้านอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานให้มีจำนวนเพียงพอ และมีสภาพพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กาญจนา วิสัย. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการทำงานของเจ้าหน้าที่ดับเพลิงสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรุงเทพมหานคร, วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ,4 (1), 269-283.

เกตุชรินทร์ หาป้อง, และนันทิยา หาญศุภลักษณ์. (2555) ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของยานพาหนะที่ให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานในสนามบิน.กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จิรศักดิ์ อมรวัฒน์เลิศล้า. (2557). ระดับการรับรู้ระบบความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท จตุพร รีโนเวชั่น จำกัด. วารสารมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2 (1), 32-46.

ณัฐพงศ์ ปานศิริ. (2558). การศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ความ ปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ ในโรงงานอุตสาหกรรม.เขตจังหวัดสุราษฎร์ธานี วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ณุฐิพงศ์ สนส่ง, และเสกสรรค์ สุทธิสงค์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุในการให้บริการอุปกรณ์ของพนักงานบริการลานจอดในเขตพื้นที่ลานจอดอากาศยานท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 11 (2), 146-155.

ดรุณี ศรีมณีรัตน์. (2558). แนวทางการพัฒนานโยบายเพื่อลดอุบัติเหตุการจราจรทางบกในกรุงเทพมหานคร: เขตสายไหม (การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์).มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

RIT ทีมรุกช่วยชีวิตเคลื่อนที่เร็ว. นิตยสารเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน การป้องกันและระงับอัคคีภัย การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. 118(4), 37-46. สืบค้นจาก: http://www.safetylifethailand.com/download/Article1122.pdf

ธรรมรักษ์ ศรีมารุต. (2555). พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายผลิต(การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, กรุงเทพมหานคร

ธวัช เหลืองวสุธา. (2557). ความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยของพนักงาน กรณีศึกษา บริษัท คอทโก้เมททอลเวอร์ จำกัด จังหวัดระยอง (การศึกษาอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

นพรัตน์ เที่ยงคำดี ฉันทนา จันทวงศ์ และพรนภา หอมสินธุ์ (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานของพนักงานเก็บขยะ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี.วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 29(1), 43-55

นภัสวรรณ แสงมณี. (2558). การเสริมสร้างสมรรถนะของเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ในการป้องกันและระงับอัคคีภัย. วิทยาลัยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย.

เบญจมาศ อ้นหนองปลง. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดอุบัติเหตุของพนักงานขับรถยกใน คลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัท โลจิสติกส์ แห่งหนึ่ง ในนิคมอุตสาหกรรมบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ปทุมธานี.

ศิริพร ด่านคชาธาร และคณะ (2562). ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงานของพนักงานดับเพลิง จังหวัดนครศรีธรรมราช, พยาบาลวารสาร, 45(4) , 111-120

ศูนย์อำนวยการบรรเทาสาธารณภัย กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย. สรุปสาธารณภัยประจำเดือน. 2562. สืบค้นจาก:

http://direct.disaster.go.th/inner.directing-7.191/cms/inner_1733/4518.1/

สกุลพร สงทะเล, และแอนน์ จิระพงษ์สุวรรณ (2564). บทบาทของพยาบาลสาธารณสุขในการป้องกันปัญหาสุขภาพจากการสัมผัสสิ่งคุกคามทางสุขภาพของพนักงานดับเพลิง, วารสารศูนย์อนามัยที่ 9,15(37) ,312-324

สุดารัตน์ วิชัยรัมย์. (2552). ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจากคนปฏิบัติงานของคนงานก่อสร้าง(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ.

สาหร่าย จันสา. (2560). อิทธิพลของการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการทำงานเป็นทีมต่อการจัดการด้านความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานหอผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐบาลแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, วารสารพยาบาลทหารบก, 18(1) ,299-307

สำนักงานเทศบาลเมืองท่าโขลง. ข้อมูลสภาพทั่วไป. 2564. สืบค้นจาก :https://thakhlong.go.th/public/list/data/index/menu/1144

อรอุมา ศรีผุย. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถภาพทางกายกับอุบัติเหตุจากการทำงานของช่าง ไฟฟ้าในรัฐวิสาหกิจแห่งหนึ่ง วิทยานิพนธ์ปริญญานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, กรุงเทพฯ.

National Fire Protection Association. (2019). Firefighter injuries in the United States. Retrieved from https://www.nfpa.org/-/media/Files/News-and-Research/Fire-statistics-and-reports/Emergency-responders/FirefighterInjuries2019.ashx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30