The การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • อิงอร วงษ์ศรีรักษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้, เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม, เทคโนโลยีสารสนเทศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR) เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 2) เพื่อประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ เรื่อง เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี โดยเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี 2) แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนรู้ ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 5 คน  และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ ประเมินโดยผู้ใช้งาน 30 คน  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) สื่อการเรียนรู้ที่พัฒนาด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง ไหว้พระ 9 วัด อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี มีขนาดไฟล์ 59 Mbyte ได้อัพโหลดขึ้น Google play store และหลังการติดตั้งบนอุปกรณ์เคลื่อนที่แล้วมีขนาด 100 Mbyte  2) ผลการประเมินคุณภาพของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ พบว่า คุณภาพอยู่ในระดับมาก ( =4.34, S.D.=0.47) และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจที่มีต่อสื่อการเรียนรู้ พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =4.13, S.D.=0.86)

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทัวร์วัดไทย. (2562ก). วัดสุราษฏร์รังสรรค์ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ต.คลองควาย อ.สามโคก ปทุมธานี. สืบค้นจาก https://tourwatthai.com/region/central/pathumthani/ watsuratrungsan

ทัวร์วัดไทย. (2562ข). วัดบางเตยกลาง ต.บางเตย อ.สามโคก ปทุมธานี. สืบค้นจาก https://tourwatthai.com/region/central/pathumthani/watbangtoeiklang

ธนัญญ์ภณ ศิลป์บูรณวาณิช และอมีนา ฉายสุวรรณ. (2561). การ์ตูนแอนิเมชัน เรื่อง วิกฤติสุขภาพจากเทคโนโลยี. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่าง สถาบัน ครั้งที่ 6. “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ก้าวตามศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาชาติอย่างยั่งยืน” (หน้า 1541-1546). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

พิมพ์กาญจน์ ชัยจิตร์สกุล, วีรวัฒน์ วงศ์ศุปไทย, ลัษมา ธารีเกษ, ประคอง สุวิริโย, ช่อฉัตร สุทธิชล, สิมาลี ศิริ,วารีรัตน์ ชูเชื้อ. (2558). เที่ยวปทุม = Explore Pathumthani. ปทุมธานี: สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานี.

วัดดอกไม้. (2559). นิตยสาร dConnect Magazine, 2(3), 158-159. https://bit.ly/3eXPxCN.

อมรรัตน์ ทองคำ และคณะ. (2564). การพัฒนาชุดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม (AR)

เรื่องรำวงมาตรฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่8 “วิทยาศาสตร์ วิจัย นวัตกรรม น้อมนำศาสตร์พระราชา เพื่อพัฒนาประเทศ (หน้า 831-837). ปทุมธานี: คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.

อารีย์ นัยพินิจ, ฐิรชญา มณีเนตร, ธงพล พรหมสาชา ณ สกลนคร และภัทรพงษ์ เกริกสกุล. (2556). การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของวัดในกลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 5(1), 38-40.

อิงอร วงษ์ศรีรักษา และเมธาพัฒน์ โพธิสารพงศ์กุล. (2562). การพัฒนาการ์ตูนแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง

สมเด็จพระนารายณ์มหาราช. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7 “บูรณาการวิจัยและนวัตกรรม เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ (หน้า 1308-1313). ปทุมธานี: คณะวิทยาศาสตร์ และวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยรังสิต.

อิสริยะ ไพรีพ่ายฤทธิ์. (2553). Augmented Reality เมื่อโลกเสมือนมาบรรจบกับความจริง. สืบค้นจาก https://www.isriya.com/node/3109/augmented-reality

อำเภอสามโคกท้องถิ่นของเรา. (2542). ปทุมธานี: กิตติพงศ์การพิมพ์.

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease (COVID-19) questions and answers. Retrieved from: https://www.who.int/thailand/emergencies/novel-coronavirus-2019/q-a-on-covid-19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-30