- การจัดการอาหารสดคงคลังสำหรับใช้ผลิตอาหารให้ผู้ป่วยใน โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ
-
คำสำคัญ:
อาหารสดคงคลัง, ปรุงประกอบอาหาร, ผู้ป่วยใน, โภชนาการบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการอาหารสดคงคลังสำหรับใช้ผลิตอาหารให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผู้วิจัยดำเนินการโดยการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยก้างปลา (Fish Bone Diagram) เมื่อทราบถึงปัญหาแล้วผู้วิจัยจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลปัญหาหลักที่เกิดขึ้นลงในแบบเฟอร์มที่จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการสุ่มเก็บในตัวอย่างวัตถุดิบจากกลุ่มผักและเนื้อสัตว์อย่างละ 5 ชนิด เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตุลาคม 2562 – ธันวาคม 2562) และนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์ข้อมูล ด้วย Pareto Diagram เพื่อเปรียบเทียบหาความสำคัญของปัญหา จากนั้นผู้วิจัยได้ทำการพัฒนาขบวนการบริหารจัดการอาหารสดคงคลัง และได้นำขบวนการดังกล่าวไปทำการทดลองใช้ เป็นระยะเวลา 2 เดือน (มิถุนายน 2563 – กรกฎาคม 2563) และทำการสำรวจปัญหาในกลุ่มตัวอย่างเดิม พร้อมวิเคราะห์หาความสำคัญของปัญหาหลังจากใช้ขบวนการที่พัฒนาขึ้น จากการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าว พบว่าการเบิกจ่ายเนื้อสัตว์และผักเพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วยในแต่ละวัน พนักงานช่วยงานโภชนาการสามารถปฎิบัติงานไปในทิศทางเดียวกัน สามารถตรวจสอบและหมุนเวียนวัตถุดิบได้ ลดการสูญเสียจากการเน่าเสีย และสามารถสั่งซื้ออาหารสดได้อย่างเหมาะสมกับปริมาณผู้ป่วยในแต่ละวัน
Downloads
References
ทินวัฒน์ ขาวเหลือง.(2554). การวิเคราะห์แนวทางเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษาร้านตำหรับไทย. ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
จีระศักดิ์ ชูทรัพย์ และรวินกานต์ ศรีนนท์.(2559) การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง : กรณีศึกษาบริษัท XXX จำกัด ปริญญามหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
วีระ จรัสศิริรัตน์. (2558) การศึกษาปริมาณการสั่งซื้อที่เหมาะสมในการสั่งซื้อวัตถุดิบ กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องถ่ายเอกสารและอะไหล่. งานนิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจดัการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา
วรพล เนตรอัมพร. (2559) การปรับปรุงประสิทธิภาพการจัดเก็บวัตถุดิบในคลังสินค้ากรณีศึกษา บริษัท นิปปอน เอ็กซ์เพรส เอ็นอีซี โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. งานนิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจดัการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา