ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ลัดดาวัลย์ กงพลี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ชลลดา พละราช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ไวรัสโคโรนา 2019, ความรู้, พฤติกรรมการป้องกันตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้กับพฤติกรรม การป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏ
วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่ม จำนวน 375 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ใช้สถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษาข้อมูลทั่วไปพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 62.67 อยู่ชั้นปี 1 ร้อยละ30.67 สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร้อยละ 33.60 และนับถือศาสนาพุทธร้อยละ 57.07 นักศึกษามีความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในระดับมากร้อยละ 85.87 และ 68.27 ตามลำดับ จากการทดสอบความสัมพันธ์พบว่าความรู้มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการป้องกันจากโรคติดไวรัสโคโรนา 2019 ในระดับต่ำ (r=.248) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ผลการศึกษาสามารถนำมาเป็นแนวทางในวางแผนส่งเสริมด้านความรู้ให้แก่นักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยเพื่อให้เกิดพฤติกรรมการป้องกันการติดเชื้อภายใต้สถาการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้รับบริการงานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสาธารณสุขศึกษา, 37(126), 8-21.

กรมควบคุมโรค. (2564). รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019. ศูนย์ปฏิบัติงานภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค, 471(1), 1-3.

ฉันทพิชญา โพธิสาจันทร์ นาตยา เกรียงชัยพฤกษ์ บุญตา เกรียงสุขอุดม. (2551). พฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดนกของเครือข่ายแกนนำสุขภาพ. ประมวลผลงานวิชาการสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 79-91.

ธานี กล่อมใจ จรรยา แก้วใจบุญ ทักษิกา ชัชวรัตน์. (2563). ความรู้และพฤติกรรมของประชาชนเรื่องการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโคโรนา สายพันธ์ใหม่ 2019. วารสารการพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษา, 21(2), 29-39.

นภชา สิงห์วีรธรรม วัชรพล วิวรรศน์ เถาว์พันธ์ กิตติพร เนาว์สุวรรณ เฉลิมชัย เพาะบุญ สุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2563). การรับรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของทันตาภิบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วารสารสถาบันบำรุงราศนาดูร, 14(2), 104-115.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข. (2563). ท้องที่นอกราชอาณาจักรที่เป็นเขตโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) พ.ศ. 2563. ราชกิจจานุเบกษา, 13-14.

มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2563). สรุปจานวนนักศึกษาคงอยู่และพ้นสภาพการศึกษา นักศึกษาระดับปริญญาตรีเต็มเวลา จันทร์-ศุกร์ ปีการศึกษา 2563. สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม, 2563, จาก http://www.vru.ac.th.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2533). การสื่อสารกับสังคม. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรัยยา หมานมานะ, โสภณ เอี่ยมศิริถาวร และสุมนามาลย์ อุทยามกุล. (2563). โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19). วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 14(2), 124-133.

ฮูดา แวหะยี. (2563). การรับรู้ความรุนแรงและพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ของวัยรุ่นในเขตตำบลสะเตงนอก อำเภอเมือง จังหวัดยะลา. วารสารวิชาการสาธารณสุขชุมชน, 6(2), 158-168.

Bloom, B. S. et al. (1956). Taxonomy of education objective, handbook I: Cognitive domain. Newyork: Mckay.

Robert Cuffe. (2020). Coronavirus death rate: What are the chances of dying? BBC NEWS, England; London, 1086, 11.

Taro Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. New York. Harper and Row Publications, 3(1).

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease2019 (COVID-19) situation report-71. Geneva. World Health Organization, 17-23.

World Health Organization. (2021). Covid-19 weekly epidemiological update. World Health Organization, 1-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30