ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ของพนักงาน ในสำนักงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสระบุรี

ผู้แต่ง

  • อรวรรณ ชำนาญพุดซา
  • นลินี สว่างผุย
  • สุนันทา ระวัง

คำสำคัญ:

พนักงานที่ใช้คอมพิวเตอร์, กลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์, สมรรถภาพการมองเห็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ของพนักงานสำนักงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสระบุรี เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง  ในพนักงานสำนักงานก่อสร้างแห่งหนึ่ง ในจังหวัดสระบุรี จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เครื่องมือวัดความเข้มของแสง และเครื่องตรวจสมรรถภาพการมองเห็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS (Statistics Package for Science for Window) โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการศึกษา พบว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 80.00) มีอายุอยู่ในช่วง 28-56 ปี (ร้อยละ 53.30) ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีขึ้นไป (ร้อยละ 60.00) มีกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์จากอาการปวดคอ/ไหล่ อาการปวดตา/กระบอกตา อาการตาพร่ามัว อาการระคายเคืองที่ตา และอาการปวดศีรษะ ร้อยละ 88.30,65.00, 56.70, 53.30 และ 50.00 ตามลำดับ และความเข้มของแสงสว่างมีความสัมพันธ์กับอาการแสบตา/ ตาแดงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  (P < 0.05) ระยะเวลาในการทำงานกับคอมพิวเตอร์กับอาการตาพร่ามัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P < 0.05) และตาบอดสีมีความสัมพันธ์กับอาการปวดศีรษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ (P < 0.05)  ดังนั้น สำนักงานก่อสร้างแห่งนี้ควรจัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ จัดแสงสว่างในที่ทำงานอย่างเหมาะสม และพักสายตา 10-15 นาทีในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ต่อเนื่อง  2  ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานเกิดความปลอดภัยในการทำงาน

Downloads

Download data is not yet available.

References

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. (2549). การกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2549.
จิตตาภรณ์ มงคลแก่นทราย จิรานุวัฒน์ จันทา รอฮีมะห์ โอ๊ะหลำ และ อรอุมา วิมลเมือง. (2560). ความชุกของความล้าของตาในกลุ่มบุคคลากรสำนักงาน สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
ชุติมา อัตถากรโกวิท. (2560). คุณภาพชีวิตของนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพสายตา เขตบางกอกใหญ่กรุงเทพมหานคร(2560). วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 45-52.
ณรงค์ สหเมธาพัฒน์. และโสภณ เมฆธน. (2558). ใช้สายตาเป็นเวลานาน เสี่ยงคอมพิวเตอร์วิชั่นซินโดรม. สืบค้นจาก https://www.thaihealth.or.th/Content/29515
นรากร พลหาญ สมสมร เรืองวรบูรณ์ โกมล บุญแก้ว อนุพงษ์ ศรีวิรัตน์. (2557). กลุ่มอาการที่เกิดต่อร่างกายจากการใช้คอมพิวเตอร์ในการปฏิบัติงานของบุคคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 26-38.
นัทพล พรหมนิล พรชัย นามวิชา จุฑาวุฒิ จันทรมาลี. (2558). ผลกระทบทางสายตาสำหรับวัยรุ่ยตอนปลายที่เล่นเกมติดต่อกันเป็นเวลานาน : กรณีศึกษาเกมฝันร้ายในบ้านมืด.
นันทฉัตร ระฮุง. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพต่อการเกิดมะเร้งกับพฤติกรรมการป้องกันตนเองของผู้ประกอบอาชีพริมถนน. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา.
ปาจรา โพธิหัง พรพรรณ ศรีโสภา อโนชา ทัศนาธนชัย. (2559). ปัจจัยเสี่ยงของกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคคลากรสายการสอนในมหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 104-119.
มารินทร์ พูลพานิชอุปถัมภ์ ฐิตาภรณ์ เหลืองวิลัย. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อระดับความรุนแรงของอาการตาแห้งและความเมื่อยล้าของสายตาในพนักงาน :กรณีศึกษาในบริษัทอุตสาหกรรมผลิตหินเจียรแห่งหนึ่ง จังหวัดชลบุรี.
ศศิธร ชิดนาย จรูญ ชิดนาย อนิญญา คูอาริยะกุล. (2558). ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดกลุ่มอาการจอภาพคอมพิวเตอร์ และความชุกปัญหาทางสายตาของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์. การพยาบาลการสาธารณสุขและการศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พะเยา.
สง่า ทับทิมหิน นิตยา พุทธบุรี. (2562). ความชุกและระดับความรุนแรงของกลุ่มอาการทางตาจากจอภาพคอมพิวเตอร์ของบุคลากรสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร, 173-177.
อรัญ ขวัญปาน ชุติมา นันทวิสิทธิ์ ดวงพร เกิดแป๋. (2558). ผลของแสงต่อสุขภาพดวงตาของผู้ที่สามารถเข้าถึงหอสมุดมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
Khola Noreen Zunaira Batool Tehreem Fatima Tahira Zamir. (2016). Prevalence of Computer Vision Syndrome and Its Associated Risk Factors among Under Graduate Medical Students of Urban Karachi.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31