การพัฒนาระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์

ผู้แต่ง

  • มณฑล นิรัติศัยดีสกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • ดาวรถา วีระพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
  • วิวัฒน์ ชินนาทศิริกุล มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

ระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์, การพัฒนาระบบ, ลาราเวลและบูสแทรปเฟรมเวิร์ค

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์ตามกระบวนการของวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle: SDLC)  ระบบร้านขายนาฬิกาออนไลน์ ทำงานในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน โดยนำเทคโนโลยี Laravel Framework มาใช้ในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน ในลักษณะ Model-View-Control (MVC) และใช้ Bootstrap Framework ในการจัดรูปแบบการแสดงผลให้สามารถแสดงหน้าเว็บบนอุปกรณ์หลายประเภทได้ และใช้โปรแกรม MySQL เป็นฐานข้อมูลสำหรับจัดเก็บข้อมูลของระบบ  ในการวิจัยนี้มีการสำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจำนวน 20 คน โดยใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจเป็นเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูลจากผู้ใช้ระบบ และวิเคราะห์ผลจากค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    ผลการสำรวจพบว่า ผู้ใช้ระบบมีความพึงพอใจต่อระบบร้านชายนาฬิกาออนไลน์อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.68  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.533

Downloads

Download data is not yet available.

References

ทิพวรรณ เย็นใจรอด, น้ำเพ็ญ เปลี่ยนมา และพงศ์กรณ์ปุบผา โสมตระกูล. (2559). ระบบขายสินค้าออนไลน์ของบริษัท Techwood Far-East Co.,Ltd. Using Codelgniter and Bootstrap Frameworks. การประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิครั้งที่ 1. หน้า 395-405. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ประภาวดี รัฐเมือง และทิพวิมล ชมภูคำ. (2560). การพัฒนาระบบซื้อ-ขายสินค้ามือสองออนไลน์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 3. หน้า 1-6. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
ปองพล ธูปทอง และแก้วใจ อาภรณ์พิศาล. (2561). ระบบจัดการข้อมูลซื้อขายอุปกรณ์ทางการเกษตร กรณีศึกษา ร้านยิ่งเจริญการค้า. การประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิชาการระดับชาติ UTCC Academic Day ครั้งที่ 2. หน้า 1796-1809. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.
สุพัตรา มาตรา และทิพวิมล ชมภูคำ. (2559). ระบบบริหารจัดการร้านขายเฟอร์นิเจอร์ออนไลน์. การประชุมวิชาการระดับชาติการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 2. หน้า 1-7. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2555) การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Ihdigital. (2020). สถิติด้าน E-commerce ในช่วงที่ผ่านมาของประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.ihdigital.co.th/thailand-e-commerce-2020/.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31