การพยากรณ์ปริมาณความต้องการพลังงานระยะสั้นในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ภัททิตา เลิศจริยพร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
  • ณภัทณ์จันทร์ ด่านสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

คำสำคัญ:

การพยากรณ์, พลังงานระยะสั้น, วิธีแยกส่วนประกอบ, วิธีแนวโน้มเชิงเส้น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสม สำหรับการพยากรณ์ปริมาณความต้องการพลังงานระยะสั้นในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน ระหว่างเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือน กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 39 ค่า ซึ่งข้อมูลจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวน 30 ค่า เพื่อใช้สำหรับการศึกษาและเปรียบเทียบความเหมาะสมของรูปแบบการพยากรณ์ทั้ง 6 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 2) รูปแบบแนวโน้มเชิงเส้น 3) รูปแบบปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลอย่างง่าย 4) รูปแบบปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลแบบสองครั้ง 5) รูปแบบปรับเรียบเอ็กซ์โพแนนเชียลแบบสามครั้ง และ 6) รูปแบบแยกส่วนประกอบ จากนั้นจะเลือกรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมกับข้อมูลที่ทำการศึกษามากที่สุด โดยพิจารณาจากรูปแบบการพยากรณ์ที่ให้ค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ และค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด และเมื่อเลือกรูปแบบการพยากรณ์ที่เหมาะสมที่สุดได้แล้ว จึงนำมาคำนวณหาช่วงการพยากรณ์ล่วงหน้า 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน กับข้อมูลชุดที่ 2 คือข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2563 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 9 ค่า ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบแยกส่วนประกอบ เป็นรูปแบบการพยากรณ์ที่มีความเหมาะสมที่สุดกับข้อมูลปริมาณความต้องการพลังงานระยะสั้นในประเทศไทยมากที่สุด และเหมาะสมสำหรับการพยากรณ์ล่วงหน้า 3 เดือน

Downloads

Download data is not yet available.

References

จารุเดช โตจําศิลป์, และ สิทธิพร พิมพ์สกุล. (2561). ตัวแบบการพยากรณ์เพื่อการวางแผนการสั่งซื้อสินค้าล่วงหน้าด้วยเทคนิคการปรับเรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียล. วิศวสารลาดกระบัง, 35(2), 22-32.
เฉลิมชาติ ธีระวิริยะ. (2560). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าในจังหวัดนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (25) 4, 128-129.
ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์. (2557). การแปลงข้อมูลที่มีการแจกแจงไม่ปกติ และความแปรปรวนไม่คงที่. สืบค้นจาก http://www.nitiphong.com/paper_pdf/phd/transformation_distribution_ variance.pdf
เมธินี กวินภาส. (2558). การเปรียบเทียบการพยากรณ์ระหว่างวิธีเครือข่ายเบย์เซียนและวิธีการปรับให้เรียบแบบเอ็กซ์โปเนนเชียลสำหรับดัชนีราคาหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างในประเทศไทย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 23(2), 203-211.
รัชฎา แต่งภูเขียว, และ ณัฐนันท์ อิสสระพงศ์. (2562). การวิเคราะห์เปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับการวางแผนการผลิต กรณีศึกษา บริษัทผลิตเนื้อโคขุนจังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 13(3), 222-232.
ศูนย์ข่าวพลังงาน. (2561). ปลัดพลังงานเครื่องร้อน เดินหน้าจัดทำแผนพลังงานระยะสั้น 5 ปี. สืบค้นจาก https://www.energynewscenter.com/ปลัดพลังงานเครื่องร้อน/
สิรินภา จิตราช. (2558). การเปรียบเทียบความแม่นยำในการพยากรณ์ดัชนีราคาตลาดหลักทรัพย์ใน กลุ่มเทคโนโลยสีารสนเทศและการสื่อสารระหว่างแบบจำลอง ARIMA และแบบจำลอง E-GARCH (การศึกษาอิสระปริญญา มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ขอนแก่น.
สุนิทรา ตั้งซ้าย, ภูดิท คุ้มวงษ์, และ ณภัทณ์จันทร์ ด่านสวัสดิ์. (2562). การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลของประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 7 “บูรณาการ วิจัย และ นวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ” (น. 392-400). มหาวิทยาลัยรังสิต. ไทย. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1HmT39Wut-1_reaSZPpbBOkq4HLyFcJ3_/view
อนัทชา พุ่มพวง, นิติมา ลักขณานุรักษ์, และ ไก้รุ่ง เฮงพระพรหม. (2562). การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการพยากรณ์ข้อมูลนักเรียนโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ด้วยเทคนิคการทำให้เรียบแบบเอ็กซ์โพแนนเชียลชั้นเดียวซึ่งปรับได้ และการหาค่าเฉลี่ยแบบเคลื่อนที่. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม “วิจัยสร้างนวัตกรรม เพื่อพัฒนาท้องถิ่นและสังคมไทย สู่ Disruptive Society” (น. 341-346). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. ไทย. สืบค้นจาก https://publication.npru.ac.th/bitstream/123456789/712/1/ประชุมวิชาการครั้งที่%2011_24.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-31