โรคเครียดจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญจากการทำงาน
คำสำคัญ:
โรคความเครียดภายหลังจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญ, สุขภาพจิต, บุคลากรด่านหน้าบทคัดย่อ
โรคเครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ เป็นภาวะผิดปกติทางจิตชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายหลังต้องเผชิญกับเหตุการณ์สะเทือนขวัญอย่างรุนแรง ซึ่งอาจรวมถึงเหตุการณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติ เหตุการณ์ก่อการร้ายหรือความรุนแรง สงครามหรือการต่อสู้ และอุบัติเหตุร้ายแรงต่าง ๆ บุคลากรด่านหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่ในการต้องเผชิญเหตุการณ์อันตรายต่าง ๆ อาทิ เจ้าหน้าที่กู้ภัย หรืออาสาสมัครกู้ภัยต่าง ๆ เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานดับเพลิง เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่ทหาร ซึ่งสามารถทำให้เกิดการบาดเจ็บไม่เพียงแต่ทางร่างกายแต่รวมถึงทางจิตใจด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดโรคเครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงถึงความสัมพันธ์ของการทำงานและปัญหาสุขภาพจิต จากการศึกษาพบว่ากลุ่มผู้ปฏิบัติงานบุคลากรด่านหน้ามีความเป็นไปได้ในการเกิดโรคเครียดจากการเผชิญเหตุการณ์สะเทือนขวัญมากกว่าประชากรทั่วไป ยิ่งไปกว่านั้นยังพบอีกว่าโรคเครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญมีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงในการเกิดปัญหาสุขภาพต่าง ๆมากมาย ยกตัวอย่างเช่น โรคซึมเศร้า โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรคปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด และเพิ่มความเสี่ยงในการฆ่าตัวตาย การให้บริการทางสุขภาพจิต อาทิ การจัดการความตึงเครียดเมื่อประสบเหตุการณ์วิกฤติ การให้คำปรึกษาทางสุขภาพจิต การประเมินสุขภาพจิต และการรักษาสุขภาพจิตมีความจำเป็นต่อการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด่านหน้า
Downloads
References
ชูเกียรติ ยงพิทยาพงศ์, อ. ว. (2557). อาการโรคเครียดภายหลังเกิดเหตุการณ์สะเทือนขวัญในเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านท่ากำชำ อ.หนองจิก จ.ปัตตานี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 59(4), 325-333.
โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์. (2559). เครื่องมือ 2P เพื่อคัดกรองโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ(PTSD). Retrieved from http://www.skph.go.th/newskph/
Berninger, A., Webber, M. P., Niles, J. K., Gustave, J., Lee, R., Cohen, H. W., . . . Prezant, D. J. J. A. J. o. I. M. (2010). Longitudinal study of probable post‐traumatic stress disorder in firefighters exposed to the World Trade Center disaster. 53(12), 1177-1185.
Chawanakrasaesin, P., Rukskul, I., & Ratanawilai, A. J. J. P. A. T. (2011). Validity and reliability of Thai version of the posttraumatic stress disorder checklist. 56, 395-402.
Kessler, R. C., Aguilar-Gaxiola, S., Alonso, J., Benjet, C., Bromet, E. J., Cardoso, G., . . . Ferry, F. J. E. j. o. p. (2017). Trauma and PTSD in the WHO world mental health surveys. 8(sup5), 1353383.
Khumtong, C., & Taneepanichskul, N. (2019). Posttraumatic stress disorder and sleep quality among urban firefighters in Thailand. 11, 123.
Kittirattanapaiboon, P., Tantirangsee, N., Chutha, W., Tantiaree, A., Kwansanit, P., & Assanangkornchai, S. J. J. o. M. H. o. T. (2017). Prevalence of mental disorders and mental health problems: Thai national mental health survey 2013. 25(1), 1-19.
Luyten, P., Mayes, L. C., Fonagy, P., Blatt, S. J., & Target, M. (2017). Handbook of psychodynamic approaches to psychopathology: Guilford Publications.
Nisoh, N. (2016). Prevalence and Factors Associated with Mental Health Problems Among Public Health Personnel in Pattani Province Under the Unrest Situation in Southern Border. Mahidol University,
Pitakpol Boonyamalik. (2014). The Establishment of the Psychological Impact Scale for Crisis Events-10 (PISCES-10). Journal of Srithanya Hospital, 15(1).
Skogstad, M., Skorstad, M., Lie, A., Conradi, H., Heir, T., & Weisæth, L. J. O. m. (2013). Work-related post-traumatic stress disorder. 63(3), 175-182.
Walker, A., McKune, A., Ferguson, S., Pyne, D. B., Rattray, B. J. E. p., & medicine. (2016). Chronic occupational exposures can influence the rate of PTSD and depressive disorders in first responders and military personnel. 5(1), 8.
Wilson, L. C. J. P. r. (2015). A systematic review of probable posttraumatic stress disorder in first responders following man-made mass violence. 229(1-2), 21-26.