การใช้หญ้าหวานในผลิตภัณฑ์ขนมชั้นเพื่อสุขภาพ
คำสำคัญ:
ขนมชั้น, สูตรลดน้ำตาล, หญ้าหวานบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ใบหญ้าหวานทดแทนน้ำตาลในขนมชั้น เพื่อให้เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ที่ลดพลังงานหรือจากหลีกเลี่ยงพลังงานจากน้ำตาลทราย โดยลดปริมาณน้ำตาลทรายลงและทดแทนด้วยใบหญ้าหวาน 4 ระดับ คือ ร้อยละ 0 (สูตรพื้นฐาน), 30, 50 และ 70 ของปริมาณน้ำตาลทั้งหมด และนำมาทดสอบการยอมรับทางประสาทสัมผัสพบว่า สูตรร้อยละ 30 ได้รับการยอมรับทางประสาทสัมผัสในทุกด้านมากกว่าสูตรร้อยละ 50 และ 70 และไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติกับสูตรพื้นฐาน (p>0.05) และการลดน้ำตาลทดแทนด้วยหญ้าหวานที่เพิ่มขึ้นจะมีผลทำให้การยอมรับทางประสาทสัมผัสมีแนวโน้มลดลง ดังนั้นการใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลที่ระดับร้อยละ 30 (สูตรร้อยละ 30) จึงเหมาะสมในการผลิตขนมชั้นที่สุด ซึ่งมีส่วนผสม ได้แก่ แป้งมันสำปะหลัง, แป้งท้าวยายม่อม, แป้งข้าวเจ้า,น้ำตาลทราย, ใบหญ้าหวาน, หัวกะทิ, น้ำ และสีผสมอาหาร คิดเป็นร้อยละ 13.67, 1.71, 1.71, 27.34, 0.82, 51.26, 3.42 และ 0.07 ตามลำดับ สูตรร้อยละ 30 มีค่าความเหนียวนุ่ม เท่ากับ 6315.63 g. และมีค่าความแน่นเนื้อ เท่ากับ 758.40 g.sec และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05)กับสูตรพื้นฐาน
Downloads
References
กรรณิการ์ อ่อนสำลี. (2563). การใช้สารสกัดจากหญ้าหวานในผลิตภัณฑ์พุดดิ้งนมสดมะพร้าวอ่อน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 28(6). 1075-1085.
กฤติยา ไชยนอก. (2560). เครื่องดื่มเจียวกู่หลาน ดอกคำฝอย ใบหญ้าหวาน. สืบค้นจาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/.../ เครื่องดื่มเจียวกู่หลานดอกคำฝอยใบหญ้าหวาน/.
คณะทำงานเกณฑ์มาตรฐานอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพสำหรับกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวานและความดันหิตสูง. (2556). เกณฑ์มาตรฐานอาหารทางเลือกเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยเบาหวานและความดันหิตสูง. สมุทรสาคร: บอร์น ทู บี พับลิชชิ่ง.
จรรยา สุบรรณ์. (2532). ขนมไทยถาดเล็ก. กรุงเทพฯ: อมรโปรดัก.
ณัฐรัตน์ ศรีสังวาล และเอกพันธ์ แก้วมณีชัย. (2555). การปรับปรุงคุณค่าทางโภชนาการของขนมอาลัวโดยการใช้สารให้ความหวานทดแทนน้ำตาล. ในการประชุมทางวิชาการบัณฑิตศึกษาศิลปากรระดับชาติ ครั้งที่ 2 (NGSC 2012) เรื่อง “การศึกษาเชิงสร้างสรรค์” และระดับนานาชาติ
(น. 868-882). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ปิติพร ฤทธิเรืองเดช. (2546) คุณสมบัติทางกายภาพ และทางเคมีของแป้งเท้ายายม่อม และการนำไปใช้ประโยชน์ในขนมชั้น (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.
พิม @ ครัวบ้านพิม. (2552). ขนมชั้น...ร๊าาากกก เธอ. สืบค้นจาก https://www.pim.in.th/thai-dessert/154-thai-layer-cake.
พิสมัย กุลกาญจนาธร. (2555). หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.pharmacy. mahidol.ac.th/th/knowledge/article/107/หวาน-ธรรมชาติ-เพื่อสุขภาพ/.
พิสมัย กุลกาญจนาธร. (2557). หญ้าหวาน...หวานทางเลือก...เพื่อสุขภาพ. สืบค้นจาก https://www.pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/221.
มณี ทองคำ. (2556). ตำรับขนมไทยชาววัง. กรุงเทพฯ: ไทยควอลิตี้บุ๊คส์.