การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

อิสริยา ปรมัตถากร
รุ่งฟ้า จันท์จารุภรณ์
พิศุทธวรรณ ศรีภิรมย์ สิรินิลกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียนและครู ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยศึกษา (1) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนและครู (2) ความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียน (3) สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของครู กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน และครูผู้สอนคณิตศาสตร์ จำนวน 6 คน ของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายมัธยม) โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ (2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง และ (3) แบบสัมภาษณ์สภาพการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหาในชีวิตจริง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) ความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ของนักเรียนและครูอยู่ในระดับปานกลาง (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 2.86) (2) เมื่อทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาในชีวิตจริงของนักเรียน พฤติกรรมที่นักเรียนแสดงออก คือ นักเรียนไม่ให้ความสำคัญกับการทำความเข้าใจปัญหาในชีวิตจริงก่อนลงมือแก้ปัญหา ทำให้ไม่สามารถค้นหาความสัมพันธ์หรือความเชื่อมโยงระหว่างข้อมูลหรือเงื่อนไขที่สำคัญและสิ่งที่ปัญหาในชีวิตจริงต้องการหาคำตอบ ส่งผลให้ไม่สามารถสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ที่เหมาะสมกับปัญหาในชีวิตจริงได้ รวมถึงไม่สามารถแปลความหมายของคำตอบที่ได้จากตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ออกมาเป็นคำตอบของปัญหาในชีวิตจริง และ (3) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับลักษณะของกิจกรรมการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ผ่านการแก้ปัญหาในชีวิตจริง แต่มีการจัดกิจกรรมลักษณะนี้ให้กับนักเรียนน้อยมากหรือไม่เคยจัดเลย

Article Details

How to Cite
ปรมัตถากร อ., จันท์จารุภรณ์ ร., & ศรีภิรมย์ สิรินิลกุล พ. (2020). การศึกษาสภาพการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ เพื่อแก้ปัญหาในชีวิตจริง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(1), 102–110. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/226093
บท
บทความวิจัย

References

Amporn Makanong. 2559. Mathematical Process Skill : Improvement for Development. Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Sansanee Nenthien. 2560. Mathematics Learning with Real-World Problems Based on Mathematical Modeling. Journal of Education Studies, 45(2), p. 238-253.

Hodgson, T. 1995. Secondary Mathematics Modeling: Issue and Challenges. School Science and Mathematics, 95(7), p. 351-358.

Cheng, A.K. 2001. Teaching Mathematics Modeling in Singpore School. The Mathematics Educator, 16(1), p. 63-75.

Janjaruporn, R. 2005. The development of a problem-solving instructional program to develop preservice teachers' competence in solving mathematical problems and their beliefs related to problem solving. Doctor of Education, Mathematics Education, Srinakharinwirot University.

Anderson, R.C. 1984. Some reflections on the acquisition of knowledge. Educational Research, 1, p. 5-10.

Ernest, P. 1989. The impact of beliefs on the teaching of mathematics. London: Falmer Press.

Thompson, A.G. 1992. Teachers’ Beliefs and Conceptions: A Synthesis of the Research. In D.A. Grouws (Ed). Handbook of research on mathematics teaching and learning. New York: Macmillan.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). 2555. Mathematical Teachers : The Path to Success. Bangkok: 3-Q Media.

Ponernut, T. 2019. The Status of Mathematics Instruction Related to Apply a Mathematical Model to Solve Real World Problems on Applications of Calculus for Enrichment Science Classroom Students in Upper Secondary Level. Veridian E-Journal,Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 12(5), p. 474-492.

Swetz, F.; & Hartzler, J.S. 1991. Mathematical Modeling in the Secondary School Curriculum : A Resource Guide of Classroom Exercises. The National Council of Teacher of Mathematics.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). 2560. Mathematics Curriculum Guide (Revised edition B.E.2560): The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok.