แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

Main Article Content

มุทิตา จีนอิ่ม
วิชัย เสวกงาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 2) เพื่อกำหนดแนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ประชากรในการวิจัย คือ ครูผู้สอนมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ จำนวน 237 คน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอนของครูมัธยมศึกษาตอนต้นกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ ปฏิบัติในระดับมากทุกด้าน แต่เมื่อพิจารณาความถี่รายด้าน พบว่าครูบางส่วนปฏิบัติไม่มากเท่าที่ควร เน้นวัดและประเมินผลความรู้ ขาดความเข้าใจในวิธีการสอดแทรก และการติดตามพฤติกรรมผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง (2) แนวทางการสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมในการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย (1) ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์ การเรียนรู้ทางคุณธรรมจริยธรรม ครูกำหนดวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมด้วยตนเองให้สอดคล้องกับเนื้อหา (2) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ครูนำข่าวหรือคลิปวีดีโอเชื่อมโยงคุณธรรมจริยธรรมที่สอดแทรก เน้นอภิปรายกลุ่มเสนอทางเลือกในการตัดสินใจ (3) ด้านการวัดและประเมินผลผู้เรียนจากกิจกรรมการเรียนการสอน ครูวัดและประเมินความรู้ ทัศนคติ เหตุผล และพฤติกรรมการแสดงออกเชิงจริยธรรม (4) ด้านปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียน แบ่งเป็น (4.1) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน ครูเป็นแม่แบบที่ดีในการปฏิบัติตน รู้จักผู้เรียนรายบุคคล และ (4.2) ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน ครูใช้หลักประชาธิปไตย ส่งเสริมผู้เรียนให้เป็นผู้นำ เคารพในความเห็นต่าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Nisa Chuto. (1997). Qualitative Research. Bangkok: P.N.Kan Pim.

Neeranuch Lualamai. (2010). An Activity Organization Model for Enhancing Moral and Ethics of Elementary School Students. Doctor’s Thesis, Educational Research Major, Department of Educational Research, Chulalongkorn University.

Ministry of Social Development and Human Security. (2014). Statistics of Case Report 2014. [Electronic version] Retrieved September 21, 2017, from http://www.djop.go.th/images/djopimage/yaer2557.pdf

Jaran Sriboaunam. (2007). Development of a Case Model Factors Effecting Virtue of Lower Secondary School Students in Bangkok Metropolis. Master’s Thesis, Educational Research Major, Department of Educational Research, Chulalongkorn University.

Ministry of Education. (1993). The Education Management Decentralization of Ministry of Education. (3rd .) copy.

Chotarats Chansukon. (2008). Social: Theory of Integration Education Academic Journal, Faculty of Education Srinakharinwirot University, 9 (1), p. 19-21.

Ministry of Education. (1993). The Education Management Decentralization of Ministry of Education. (3rd .) copy.

Peerapong Chalearnpanthuwong. (1998). The Activity for Promotion Ethtics in High School of General Education Department, Krasangpittayakom School: Buriram. Master’s thesis, Department of Educational Management, Mahasarakham University.

Chusak Sisan, Pornchai Nookaew and Jirawan Nakpat. (2012). The Development of Students Strengthening in Moral Ethical Model: A Case Study of Ban Huay Sua School, Thong Pha Phum District, Office of Kanchanaburi Primary Education Service Area3. Journal of Industrial Education, 16(3), p. 80-81

Ministry of Education. (2014). National Council for Peace and Order Legislates Twelve Values In Reform in Education Plan. [Electronic version] Retrived September 21, 2017, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detailphp?NewsID=37703&Key=hotnews.

Chatchaya Perathoranich. (2009). The character of Teacher for Infusion Instruction of Ethics and Moralities. Journal of Development Instruction, Rangsit University, 3(2), p. 75-76.