การสอนซ่อมเสริมโดยใช้เกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเรื่องการดำเนินการของจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

ธิษณะ จงเจษฎ์
สายัณห์ โสธะโร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) หาประสิทธิภาพของเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษาเรื่องการดำเนินการของจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการดำเนินการของจำนวนเต็ม ของนักเรียนที่ได้รับการสอนซ่อมเสริม และ (3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนปราโมชวิทยารามอินทรา เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นนักเรียนที่ได้เรียนรายวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานเรื่องระบบจำนวนเต็มมาแล้ว และได้คะแนนรายจุดประสงค์เรื่องระบบจำนวนเต็ม ต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็ม จำนวน 16 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และผู้วิจัยได้ใช้เวลาทำการทดลองทั้งหมดจำนวน 10 คาบ


ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของเกมคอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา เรื่อง การดำเนินการของจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หรือ E1/E2 มีค่าเท่ากับ 69.48/61.40 (2) นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ร้อยละ 60 ขึ้นไป มีจำนวน 12 คน คิดเป็นร้อยละ 75 ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด และ (3) ความพึงพอใจของนักเรียนโดยเฉลี่ย จัดอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.29, S.D. = 0.85)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] Virat Niyomyaem. (1982). Development of Diagnostic Tests in Integer for Mathayomsuksa 2 Students in Nakhon-nayok Province. Master thesis of Education, Graduate School, Srinakharinwirot University.

[2] Manus Pholchamni. (1997). A Concrete Approach to the Teaching of Integrals Number System at the Lower Secondary Level. Master thesis of Education (Mathematics), Graduate School, Srinakharinwirot University.

[3] Prakhong Sutthasan. (1983). Remedial Teaching : Principles and Practices in Elementary Schools. Bangkok: Watthanaphanit.

[4] Rungthiwa Chak-kon. (1984). Ordinary Teaching. Bangkok: Rungruangtham.

[5] Thitna Khaem-mani. (2012). 14 How to Teach for Professional Teachers. 11th ed. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

[6] Lee Su Kin. (1995, January). Creative Games for the Language Class. English Teaching Forum, 33(1), p. 35.

[7] Manutsavee Sawangtrakul. (2016). The Development of Computer Assisted Instruction on the Papercraft for Student in Vocational Certificate of Central Correctional Institution for Young Offenders. Journal of Industrial Education, 15(3), p. 45-52.

[8] Somsak Jaipetch. (2007). The Result of Mathematics Activity through Games to Correct Mathayomsuksa 2 Students’ Deficiency in Computational Skills. Master Project of Education (Secondary Education), Graduate School, Srinakharinwirot University.

[9] Pornwipa Panmas. (2012). The Effect of Using Camputer Games in Remedial Tesching on Integers System toward Mathematics Learning Achievement of Mathayomsuksa 1 Students. Master Project of Education (Secondary Education), Graduate School, Srinakharinwirot University.

[10] Siya Niyomtham and Prapatsorn Niyomtham. (1982). Remedial Teaching (Teaching for the disabled). Bangkok: Odeon Store.

[11] The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2015). Teacher Manual for Basic athematics 1, Department of Mathematics for Mathayomsuksa I Students in The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao.