ศึกษาแนวคิดการออกแบบกราฟิกของบรรจุภัณฑ์ขนมญี่ปุ่นเพื่อนำมาใช้กับบรรจุภัณฑ์ขนมไทย

Main Article Content

สืบศิริ แซ่ลี้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวคิดการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ขนมญี่ปุ่น ที่มีความเหมาะสมในการนำมาประยุกต์ใช้ออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทย 2) เพื่อเป็นแนวคิดในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ขนมไทยใหม่ 3) เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไทยรูปแบบเดิมกับบรรจุภัณฑ์ขนมไทยแบบใหม่ การศึกษาแนวคิดการออกแบบกราฟิกของบรรจุภัณฑ์ขนมญี่ปุ่นบนบรรจุภัณฑ์ขนมไทย ได้รับการสร้างสรรค์โดยผู้วิจัยพิจารณาและกลุ่มตัวแทนผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบกราฟิกและบรรจุภัณฑ์ จำนวน 3 คน บรรจุภัณฑ์ขนมไทยที่พัฒนากราฟิกในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขนมญี่ปุ่น ได้ถูกนำไปศึกษาความพึงพอใจกับผู้ประกอบการ จำนวน 30 คน และผู้บริโภค จำนวน 50 คน รวม 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามความต้องการเบื้องต้นของผู้ผลิตที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไทย 2) แบบประเมินความเหมาะสมด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 3) แบบประเมินความพึงพอใจและการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไทย


ผลการวิจัย มีดังนี้


1. ความคิดเห็นเบื้องต้นของผู้ผลิตที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไทยก่อนการพัฒนา พบว่า มีความคิดเห็นโดยรวมอยู่ในระดับมาก


2. ผลการประเมินความเหมาะสมด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทย โดยใช้ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อมาผนวกกับหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ แนวคิดที่นำเอกลักษณ์ของไทยมาปรับในสไตล์ญี่ปุ่นรวมกับการออกแบบที่ดูมีความทันสมัย และคำนึงถึงความสะดวกในการใช้งานของบรรจุภัณฑ์ ใช้โทรสีและกราฟิกที่สดใส ตราสินค้าที่ง่ายต่อการจดจำ ที่สอดคล้องกับผลิตภัณฑ์ และตัวอักษรที่มีความเป็นไทย ภาพกราฟิกที่ใช้บนบรรจุภัณฑ์เป็นภาพถ่ายจริง อีกทั้งยังคำนึงถึงต้นทุนการผลิตที่เหมาะสมกับราคาผลิตภัณฑ์ พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก


3. ความคิดเห็นในการตัดสินใจเลือกซื้อของผู้บริโภคที่มีต่อบรรจุภัณฑ์ขนมไทย พบว่า มีคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น


สรุปได้ว่า การออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมไทยที่พัฒนากราฟิกในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขนมญี่ปุ่น โดยใช้ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อมาผนวกกับหลักการออกแบบบรรจุภัณฑ์ โดยแนวคิดที่นำเอกลักษณ์ของไทยมารวมกับการออกแบบที่ดูมีความทันสมัย สามารถสร้างแนวทางใหม่เพื่อใช้เป็นข้อมูลให้แก่กลุ่มผู้ประกอบการ และนักออกแบบสามารถนำมาใช้กับการออกแบบขนมของไทยได้ แต่สิ่งสำคัญจะต้องมีการคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นไทยหรือคงไว้ ซึ่งกลิ่นอายของความเป็นไทยให้คงอยู่ด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กัลป์ยกร จันทรสาขาและคณะ. 2554.ศึกษาการออกแบบผลิตภัณฑ์ศิลปหัตถกรรมประเภทงานจักสาน ไม้ไผ่ลายขิดกลุ่มผู้ผลิตบ้านหนองสระพัง ตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์.วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม,10(3), น.1-10.
Kanyakom Chantarasakha and others.2011. Study of Arts and Crafts Product Design for Bamboo Khid Pattern Wickerwork Manufacturers. BanNongsapang, Nong Hang Kuchinarai District, Kalasin. Journal of Industrial Education, 10(3), p. 1-10.

[2] ชัยรัตน์ อัศวางกูร. 2548. ออกแบบให้โดนใจ. กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน.

[3] ณภัทร(นามแฝง). 2539. ห่อของขวัญให้สวยเล่ม 2 ฃ แบบญี่ปุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : สนานคิด.

[4] นภวรรณ คณานุรักษ์. Power of Packaging.กรุงเทพฯ : ทิปปิ้ง พ้อยท์, 2547.

[5] บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. 2549. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ :จามจุรีโปรดักท์.

[6] ประชิด ทิณบุตร. 2531. การออกแบบบรรจุภัณฑ์.กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

[7] ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ.2541. บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ : แพคเมทส์.

[8] สืบศิริ แซ่ลี้. 2552. การออกแบบสื่อนฤมิตเบื้องต้น.มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

[9] สืบศิริ แซ่ลี้. 2554. พื้นฐานการออกแบบ.มหาสารคาม : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.