ตัวแปรที่ส่งผลกับเจตคติต่อระบบประกันสังคมของแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ประสิทธิศักดิ์ ศิริจารุภัทร
ไพฑูรย์ พิมดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวแปรที่ส่งผลกับเจตคติต่อระบบประกันสังคมของแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2551 จำนวน 720 คน การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบวัดจำนวน 9 ตัวที่ผ่านการทดลองใช้และหาคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ตัวแปรที่ส่งผลกับเจตคติต่อระบบประกันสังคมของแรงงาน คือ ค่านิยมด้านชีวิตและสุขภาพ (X8) การรับรู้ข่าวสารประกันสังคม (X5) สภาพแวดล้อมในที่ทำงาน (X7) ความรู้เกี่ยวกับการประกันสังคม (X9) และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (X2) โดยตัวแปรเหล่านี้สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของเจตคติต่อระบบประกันสังคมในจังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้อยละ 40.30  สามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ ได้ดังนี้


     สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ


Y/   =   .204 + .305X8 + .278X5 + .143X7 + .052X9 + .180X2


     สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ


Z/y  =   .317Z8 + .272Z5 + .200Z7 + .176Z9 + .197Z2

Article Details

How to Cite
ศิริจารุภัทร ป., & พิมดี ไ. (2014). ตัวแปรที่ส่งผลกับเจตคติต่อระบบประกันสังคมของแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 145–152. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/26538
บท
บทความวิจัย

References

[1] Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement, 30(3), p 607-610

[2] พรรณราย พิทักเจริญ. 2543. จิตลักษณะและสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพกายและ จิตของข้าราชการสูงอายุ. ภาคนิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) วิชาเอกการจัดการการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[3] พีระนันท์ บูรณะโสภณ. 2538. พฤติกรรมการเปิดรับ ข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการใช้ ผลิตภัณฑ์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

[4] ขจีรัตน์ บุญวิวัฒนาการ. 2546. ความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (30 บาทรักษาทุกโรค) จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[5] ชม ภูมิภาค. 2523. จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

[6] พันธวี บุญมาตย์ จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร และอตินุช กาญจนพิบูลย์. 2553. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจ ในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับวิศวกรในอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟในประเทศไทย. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 9(2), น. 180-189.

[7] นิภาพร โชติสุดเสน่ห์. 2545. ปัจจัยทางจิตสังคมที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[8] ระเด่น หัสดี และสรงค์กฎณ์ ดวงคำสวัสดิ์. 2536. การสุข ศึกษาและประชาสัมพันธ์กับการพัฒนาสาธารณสุข เพื่อบรรลุสุขภาพดีถ้วนหน้า. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

[9] อุบล เลี้ยววาริน. 2534. ความสำคัญของการศึกษาที่มีต่อจิตลักษณะและพฤติกรรมสุขภาพของผู้ปฏิบัติงาน ในเขตกรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาพัฒนศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.

[10] ตวงพร โรจนพันธุ์. 2542. การเปิดรับข่าวสารความรู้ความเข้าใจ และทัศนคติเกี่ยวกับการประกันสังคม ของผู้ประกันตนระดับบริหารและระดับปฏิบัติการ. วิทยานิพนธ์ วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[11] Atkinson, John W. 1964. An Introduction to Motivation. New York : American Book Company.

[12] McClelland, David C. 1953. The Achievement Motive. New York : Harper and Row.