เจตคติและการใช้บริการระบบประกันสังคมของแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

ประสิทธิศักดิ์ ศิริจารุภัทร

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเจตคติและการใช้บริการประกันสังคมของแรงงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2551 จำนวน 720 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประเมินรวมค่ารวมค่า 6 ระดับ มีค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว แล้วทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Sheffe/ ผลการวิจัยพบว่า 1) แรงงานมีเจตคติต่อระบบประกันสังคมอยู่ในระดับสูง และมีการใช้บริการประกันสังคมเฉลี่ย 3.92 ครั้ง/ปี 2) แรงงานมีเจตคติต่อระบบประกันสังคมของแรงงานแตกต่างกันตามสถานภาพการสมรส 3) แรงงานที่มีสถานภาพโสด มีการใช้บริการประกันสังคมแตกต่างกันตามอายุ และฐานะครอบครัว ส่วนแรงงานที่มีสถานภาพสมรส มีการใช้บริการประกันสังคม แตกต่างกันตามระดับการศึกษา รายได้ และอายุ และ 4) แรงงานที่มีสถานภาพโสด มีเจตคติต่อระบบประกันสังคม แตกต่างกันตามระดับการศึกษา จำนวนสมาชิกครอบครัว อายุ รายได้ครอบครัว และฐานะครอบครัว ส่วนแรงงานที่มีสถานภาพสมรส มีเจต-คติต่อระบบประกันสังคม แตกต่างกันตามรายได้ครอบครัว จำนวนสมาชิกครอบครัว และฐานะครอบครัว

Article Details

How to Cite
ศิริจารุภัทร ป. (2014). เจตคติและการใช้บริการระบบประกันสังคมของแรงงานในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(2), 137–144. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/26530
บท
บทความวิจัย

References

[1] สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน. 2551. สถิติงานประกันสังคม 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

[2] สำนักงานแรงงานจังหวัดสมุทรปราการ. 2551. ข้อมูล/สถานการณ์ด้านแรงงานจังหวัด. ค้นเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2551 จาก http://www.samutprakan.mol.go.th/node/40

[3] Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. 1970. Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Educational and Psychological Measurement. 30 (3) : p. 607-610.

[4] จีรนันท์ แกล้วกล้า และคณะ. 2549. ปัจจัยที่มีผลต่อการเข้ารับบริการทางการแพทย์ในโรงพยาบาลของผู้ประกันตน สำนักงานประกันสังคม. รายงานการวิจัยทุนสนับสนุนจากสำนักงานประกันสังคมกระทรวงแรงงาน.

[5] ไพฑูรย์ พิมดี และสุรชัย ชาสุรีย์. 2550. ความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม. 6(2) : น. 52-59.

[6] ชนากานต์ ลือชา. 2548. ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของผู้ประกันตนที่มีต่อระบบประกันสังคม : กรณีศึกษาผู้ประกันตนในจังหวัดยโสธร. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[7] คำทิพย์ โปติบุตร. 2545. ความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของผู้ประกันตนต่อระบบประกันสังคม : กรณีศึกษา สำนักงานประกันสังคมจังหวัดพังงา. ภาคนิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

[8] นิศารัตน์ มงคลรัตน์. 2546. ความสัมพันธ์ของความรู้ทัศนคติของนายจ้างที่มีต่อการปฏิบัติด้านการประกันสังคม : ศึกษาเฉพาะกรณีนายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1-9 คน ในเขตจังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.