การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล สำหรับนักศึกษา สาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2

Main Article Content

นิธิธรรม โสวจัสสตากุล
ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล สำหรับนักศึกษาสาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2 ที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล สำหรับนักศึกษาสาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชานิเทศศิลป์ สาขาวิชาการถ่ายภาพ คณะสถาปัตยกรรม-ศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 25 คน โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียว มีการวัดก่อนและหลังการทดลอง ผลวิจัยพบว่า คุณภาพของบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น โดยรวมอยู่ในระดับดี (equation = 4.39, SD = 0.40) มีคุณภาพด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก (equation = 4.50, SD = 0.35) มีคุณภาพด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดี (equation = 4.27, SD = 0.47) บทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล มีประสิทธิภาพ 89.75/85.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ นักศึกษาสาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมากกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 สรุปได้ว่าบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล สำหรับนักศึกษาสาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2 คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ที่พัฒนาขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอน และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น

Article Details

How to Cite
โสวจัสสตากุล น., & โสวจัสสตากุล ท. (2024). การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่องการถ่ายภาพบุคคล สำหรับนักศึกษา สาขาการถ่ายภาพ ชั้นปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 23(2), 40–51. https://doi.org/10.55003/JIE.23207
บท
บทความวิจัย

References

Stapleton-Corcoran, E. (2023). Taxonomy of educational objectives. Center for the Advancement of Teaching Excellence at the University of Illinois Chicago. https://teaching.uic.edu/blooms-taxonomy-of-educational-objectives/

Chusri, P. (2013). The development of web-based instructional on photography for educational communication technology, undergraduated students, Srinakharinwirot University [Master’s thesis]. Srinakharinwirot University. (in Thai)

Johnson, D. W., Johnson R. T., & Holubec, E. J. (1994). the new circles of learning: Cooperation in the classroom and school. ASCD.

Kruegantha, N., & Saiplang, J. (2023). The developing web-based instruction using project-based learning on the engineering design process for First-year students in the bachelor of technology program. Journal of Industrial Education, 22(3), 122-132. (in Thai)

Laohajaratsaeng, T. (2001). Web-based instruction: Innovation for the quality of teaching and learning. Journal of Education, 28(1), 87-94. (in Thai)

Phromwong, C. (2002). Teaching materials for the educational technology course, units 1-5. Office of Educational Technology, Sukhothai Thammathirat Open University. http://digitallib.stou.ac.th/handle/6625047444/2423 (in Thai)

Rakkrathok, P., & Sovajassatakul, T. (2020). The development of web-based instruction using inquiry-based learning on information management for Grade 7 students. Journal of Industrial Education, 19(3), 82-90. (in Thai)

Thienthong, M. (2011). Courseware design and development for CAI. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok Printing House. (in Thai)

Teeranathanakul, P., Kiatkomon, P., & Yaemphinit, S. (2003). Design and production of computer-assisted instruction lessons for E- learning. Sue-Serm Center. (in Thai)