ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเชิงบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

ศศิประภา เวชศิลป์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ ได้มีการศึกษาประเด็นปัญหา และประเมินผลสัมฤทธิ์ เพื่อจะนำมาออกแบบรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ให้เหมาะสมสำหรับวิชาการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเชิงบูรณาการ ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากสาขาวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สาขาวิชาการออกแบบบรรจุภัณฑ์และการพิมพ์ และนักศึกษาชั้นปีที่ 4 จากสาขาวิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร (มทร.พระนคร) ในรายวิชาการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา วิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาประเด็นปัญหาการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา จากนั้นทำการวิเคราะห์ เพื่อหาค่าความเหมาะสม และขั้นตอนการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนที่เหมาะสม ด้วยแบบสอบถามประกอบการสัมภาษณ์จากอาจารย์และเจ้าหน้าที่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร จำนวน 5 ท่าน และประเมินผลสัมฤทธิ์การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเชิงบูรณาการ จำนวน 50 คน ด้วยเทคนิคมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่าการศึกษาประเด็นปัญหาการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร จำนวน 63 คน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (equation = 3.97, SD = 0.72) ส่วนรูปแบบการเรียนการสอนในวิชาการเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเชิงบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ จำนวน 5 ท่าน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย (equation = 4.83, SD = 0.26) และผลประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล เจ้าของสถานประกอบการหรือพี่เลี้ยงดูแลหรือปฏิบัติงานร่วมกับนักศึกษาสหกิจศึกษาของแต่ละสถานประกอบการ จำนวน 50 คน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (equation = 4.20, SD = 0.63)

Article Details

How to Cite
เวชศิลป์ ศ. (2024). ศึกษาผลสัมฤทธิ์การเตรียมความพร้อมสหกิจศึกษาเชิงบูรณาการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 23(2), 27–39. https://doi.org/10.55003/JIE.23206
บท
บทความวิจัย

References

Angurarohit, P. (2022). Philosophy of experience according to the ideas of John Dewey towards organizing science learning. https://punyasophy.blogspot.com/2009/06/john-dewey.html. (in Thai)

Kleinman, P. (2023). Philosophy 101 [ปรัชญา 101 : Philosophy 101]. Arrow Multimedia.(in Thai)

Malaichaisit, K. (2019). Empiricism and education. https://www.academia.edu/17028803 (in Thai)

Meesuk, U. (2009). Philosophy and education philosophy. https://www.kroobannok.com/19891. (in Thai)

Shepherd, I. (2017). A conceptual framework for simulation in health care education [Doctoral dissertation]. College of Arts and Education Victoria University.

Srisaan, V. (2018). Cooperative and work integrated education: CWIE. https://dass.rmutr.ac.th/wp-content/uploads/2018/11/RMUTR_DASS_PP1.pdf (in Thai)

Suwanjaroen, J., Sarakshetrin, A., & Malai, C. (2017). Teaching models to enhance the 21st century skills for bachelor’s degree nursing students. Nursing Journal, 44(4), 177-178. (in Thai)