รูปแบบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในชีวิตวิถีใหม่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

Main Article Content

สุนทร บินกาซานี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มุ่งเน้นไปที่การศึกษาผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในชีวิตวิถีใหม่ เพื่อออกแบบสื่อการเรียนการสอนรูปแบบออนไลน์ในชีวิตวิถีใหม่ และความพึงพอใจของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 62 คน ในรายวิชาออกกแบบเครื่องเรือน สำหรับการเรียนการสอนผ่านโปรแกรมออนไลน์ มีวิธีการดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลด้านโปรแกรมแต่ละประเภทสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ สัมภาษณ์ จากนั้นทำการวิเคราะห์ เพื่อหาค่าความเหมาะสมสำหรับนำมาใช้เป็นสื่อการสอนรูปแบบออนไลน์และขั้นตอนการสร้างสื่อนำเสนอ คัดเลือกจาก 8 โปรแกรม ให้เหลือจำนวน 1 โปรแกรม ด้วยแบบสัมภาษณ์ รองคณบดีฝ่ายวิชาการและวิจัย และอาจารย์ จำนวน 3 คน และประเมินผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยเทคนิคมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า Google Classroom และ Google Meet มีความเหมาะสมสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์มากที่สุด เพราะสามารถสร้างห้องเรียนแยกได้ชัดเจน สะดวก โดย Google Classroom, Google Meet มีค่าเฉลี่ย (equation  = 5.00, SD = 0.00) อยู่ในระดับมากที่สุด การเปรียบเทียบค่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนกับคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ย 15.29 คิดเป็นร้อยละ 48.92 และหลังเรียน คะแนนเฉลี่ย 24.82 คิดเป็นร้อยละ 80.33 ความพึงพอใจของนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ มทร.พระนคร ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 62 คน มีความพึงพอใจด้านแบบประเมินโดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย (equation  = 4.08, SD = 0.50) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่าความพึงพอใจที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการใช้สื่อแบบเรียนออนไลน์ ส่วนแบบทดสอบ ค่าเฉลี่ย (equation  = 4.40, SD = 0.44) รองลงมา ได้แก่ สื่อออนไลน์และแบบเรียนออนไลน์ วิชาการออกแบบเครื่องเรือน ค่าเฉลี่ย (equation  = 4.17, SD = 0.48) รองลงมา ได้แก่ ด้านผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้ใช้แบบเรียนออนไลน์ ค่าเฉลี่ย (equation  = 3.92, SD = 0.50) และรองลงมา ได้แก่ ด้านการใช้สื่อออนไลน์ส่วนเนื้อหาบทเรียน วิชาการออกแบบเครื่องเรือน ค่าเฉลี่ย (equation = 3.84, SD = 0.58)

Article Details

How to Cite
บินกาซานี ส. (2024). รูปแบบผลสัมฤทธิ์การเรียนการสอนแบบออนไลน์ในชีวิตวิถีใหม่ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 23(2), 62–72. https://doi.org/10.55003/JIE.23209
บท
บทความวิจัย

References

ANET Internet. (2019). Advantages of using Webinar for business meetings or seminars. https://www.anet.net.th/a/46524. (in Thai)

Inthason, S. (2020). COVID-19 and online teaching case study: Web programming course. Journal of Management Science Review, 22(2), 203-214. (in Thai)

Jarukitkul, P. (2021). Recommended programs for online teaching. https://www.gotoknow.org/posts/693712. (in Thai)

Mukda, W., & Wannasuth, S. (2023). Online education, a new normal in the time of COVID 19. The Journal of Sirindhornparidhat, 24(1), 102-115. (in Thai)

Nanchanee, W. (2015). Line for instruction line new options for teaching and learning. http://lineforinstruction.blogspot.com/. (in Thai)

Rueangsawat, S., & Phuaksawat, P. (2021). Teaching and learning management during the COVID-19 outbreak among Nursing Colleges of the Praboromarajchanok Institute. Journal of Health Research and Innovation, 4(2), 101-114. (in Thai)

Songram, P., Saensuk, M., & Au-areemit, S. (2018). The development of learning management system on Facebook. Journal of Information Technology Management and Innovation, 5(2), 137-145. (in Thai)

Kenan Foundation of Asia. (2020). The epidemic of COVID-19. Make three important impacts on Thai education. http://www.kenan-asia.org/th/covid-19-education-impact. (in Thai)

Kruchiangrai. (2020). Google Hangout Meet for distance learning open to use important features for free. https://www.kruchiangrai.net/2020/04/03/google-hangout-meet/. (in Thai)

Thongkaew, T. (2020). New normal based design in education: Impact of COVID-19. Journal of Teacher Professional Development, 1(2), 1-10. (in Thai)