การพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว
Main Article Content
บทคัดย่อ
ผู้วิจัยได้พัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้สำหรับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนเรื่องระบบพิกัดเชิงขั้วระหว่างการใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้และวิธีการสอนแบบปกติ และเพื่อสำรวจทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรม ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ในการแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้เกี่ยวกับการหาพิกัดเชิงขั้วอื่น ๆ ที่เป็นตัวแทนของจุดที่กำหนดให้ การหาความสัมพันธ์ของจุดในระบบพิกัดฉากกับระบบพิกัดเชิงขั้ว และการวาดกราฟของสมการในระบบพิกัดเชิงขั้ว แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว และแบบสำรวจทัศนคติของผู้เรียนที่มีต่อการใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้ว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน และการทดสอบทีแบบกลุ่มอิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้สำหรับการเรียนการสอนออนไลน์เรื่องระบบพิกัดเชิงขั้วที่สร้างขึ้น มีคุณภาพการใช้งานอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้เรียนที่มีการใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 3) ผู้เรียนมีทัศนคติต่อการใช้ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้อยู่ในระดับมาก
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Charoensuk, K. (2013). MATLAB GUI for teaching and learning in vector calculus: tripleintegrals [Master’s thesis]. Silpakorn University. (in Thai)
Cronbach, L. J. (1957). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16, 297-334. Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.
Kuder, G. F., & Richardson, M. W. (1937). The theory of the estimation of test reliability. Psychometrika, 2(3), 151-160.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale, reading in Attitude theory and measurement. Wiley & Son.
Mathuros, S. (2021). Management education online in the new normal Covid-19. Rajapark Journal, 15(3), 33-42. (in Thai)
Phoodee, W. (2020). Mathematics instruction in digital age: Methods and tools. Journal of Science & Science Education, 3(2), 190-199. (in Thai)
Porncharoen, R. (2016). Development of simulated program for analysis of parameters of antenna for applying telecommunication engineering education (Research report). Rajamangala University of Technology Phra Nakorn. (in Thai)
Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the assessment of criterion- referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.
Surpare, K., Lohakan, M., & Wannapiroon, P. (2016). Development of adaptive blended learning with social networks to enhance computation thinking skill and writing program skill for electrical engineering students. Journal of graduate studies Valaya Alongkorn Rajabhat University, 10(3), 1-13. (in Thai)
Surpare, K., & Seetao, C. (2016). Development on graphical user interface (GUI) of SCILAB in continuous time Fourier transform for Electrical Engineering students. In W. Wittaya (Ed.), TechEd 9. Proceeding of the 9th National Conference on Technical Education (pp. 275-280). (in Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row Publications.
Yonwilad, W. (2016). A comparative study of the learning achievement of finding the solution of linear equation system with the SCILAB program and traditional method. Nakhon Lampang Buddhist College’s Journal, 5(1), 1-7. (in Thai)