การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์เรื่อง สัทอักษรภาษาจีนกลาง (พินอิน) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีนในระดับขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

มนาภรณ์ บ้านเพิง
เยาวลักษณ์ วิสุทธิ์สิริ

บทคัดย่อ

บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ เรื่องสัทอักษรภาษาจีนกลาง (พินอิน) ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับผู้เริ่มต้นเรียนภาษาจีนกลาง เพื่อเสริมความรู้ ความเข้าใจในการเรียนระบบการประสมคำและการอ่านตัวพินอินให้เป็นไปตามมาตรฐานได้ด้วยตนเอง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์ เรื่องสัทอักษรภาษาจีนกลาง (พินอิน) ให้มีประสิทธิภาพของกระบวนการและประสิทธิภาพของผลลัพธ์ตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตสุราษฎร์ธานีที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาภาษาจีน 1 ปีการศึกษา 1/2564 จำนวน 15 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์เรื่อง สัทอักษรภาษาจีนกลาง (พินอิน) แบบทดสอบวัดความรู้สัทอักษรภาษาจีนกลาง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) และ t-test ผลการวิจัยพบว่าประสิทธิภาพของบทเรียนมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 88.02/80.15 ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อบทเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x} = 4.47) เนื่องด้วยตัวบทเรียนสามารถโต้ตอบกับผู้เรียนได้ มีการแสดงผลลัพธ์เป็นเปอร์เซ็นความถูกต้องในการออกเสียง มีเนื้อหาเชื่อมโยงระหว่างบท ควบคุมได้ง่าย เลือกเรียนเนื้อหาได้ตามความต้องการ และมีแบบทดสอบระหว่างบทที่สะท้อนผลการเรียนรู้ได้อย่างทันท่วงที ทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนมากขึ้นจึงเกิดแรงจูงใจและเจตคติที่ดีต่อบทเรียน

Article Details

How to Cite
บ้านเพิง ม., & วิสุทธิ์สิริ เ. (2021). การใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนออนไลน์เรื่อง สัทอักษรภาษาจีนกลาง (พินอิน) เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ภาษาจีนในระดับขั้นพื้นฐาน. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 135–145. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/245602
บท
บทความวิจัย

References

Wasinanon, N. (2016). “The Study of Thailand’s Systematic Chinese Teaching Management if Higher Education.” Chinese Studies Journal Kasetsart University. 9(2), 275-287. (in Thai)

Patamaphadungsak, S. (2013). Chinese for Communication. Bangkok: MAC EDUCATION. 4-5. (in Thai)

Suphasa, T., & Qi, X. (2017). “Error Analysis In Chinese Pronunciation of Business Chinese Students, International College, Chiang Mai Rajabhat University.” Journal of Graduate Research. 8(1), 120-123. (in Thai)

Wansinthop, S. (2011). “Factors Affecting the HCU Chinese Major and Traditional Chinese Medicine Students’ Productions of the Chinese Consonant sounds, Vowel, and Tones.” HCU Journal of Health Science. 14(28), 100-107. (in Thai)

Khlaisang, J. (2018). Ubiquitous Technology Enhanced Learning: The Outcome-Based Learning Design for 21st Century Learners. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House. 7-15. (in Thai)

Lao-ha-charad-sang, T. T. (1998). Computer Assisted Teaching. Bangkok: Wongkamol Production. 7-10. (in Thai)

Torut, B. (2000). “Computer-Assisted Language Learning: An Overview.” Silpakorn University International Journal. 1(1), 130-153.

Liu, J. (2009). “The integration of CALL to vocabulary teaching and learning.” US-China Foreign Language Journal. 7(1), 60-64.

Pariyawatid, P. (2015). “Effecting Augmented Reality Code of Chinese Vocabularies Lesson for Grade 3 Students at Tessaban 2 Wattaninarasamosorn School.” Master’s thesis, Education in Educational Technology and Communications, Prince of Songkla University, Pattani, 108-109. (in Thai)

Kammane, T. (2008). Instructional Style. Bangkok: ACTIVE PRINT. 365-368. (in Thai)

Pimpimool, K. A. (2007). Computer Assisted Instruction. Ubon Ratchathani: Ubon Kit Offset Printing House. 44-46. (in Thai)

Thongsalab, M., & Thipatdee, G. (2020). “The Development of English Reading Achievement by Using Computer Assisted Instruction for Sixth Grade Students.” Journal of Roi Et Rajabhat University. 14(2), 96-104. (in Thai)

Kuanhavej, B. (1999). Educational Innovation. Nonthaburi: S. R. PRINTING House. 68-69. (in Thai)

Sridadech, S., Teeraputon, D., & Voravitrattanakul, P. (2018). “The Development of Computer Assisted Instruction to Enhance Listening Skills in Foreign Languages Learning Substance: Myanmar Subject for Language and Communication for Junior Secondary Students.” Journal of Education Naresuan University. 20(4), 206-218. (in Thai)