ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคิดตามแนวคิดของกิลฟอร์ดของผู้เรียน สาขาออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการคิดตามแนวคิดของกิลฟอร์ด (Guildford thinking style) ประกอบด้วยการคิดอเนกนัย (Divergent thinking) การคิดแบบเอกนัย (Convergent thinking) ของผู้เรียนสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ตัวอย่างวิจัยคือนิสิตนักศึกษาคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิตของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐจำนวน 290 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบวัดพฤติกรรมการคิดตามแนวกิลฟอร์ดใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นเครื่องมือที่พัฒนาเพื่อตรวจสอบรูปแบบการเรียนของผู้เรียนที่สามารถสนับสนุนการคิดอเนกนัยและการคิดเอกนัย ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) จากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ในสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และสถาปัตยกรรมศาสตร์ นำไปวิเคราะห์ได้ค่าความเที่ยง (Reliability) ของเครื่องมือทั้งฉบับได้ที่ 0.941 และเมื่อแยกวิเคราะห์ได้ค่าความเที่ยงสำหรับข้อคำถามการคิดอเนกนัยที่ 0.895 และได้ค่าความเที่ยงสำหรับข้อคำถาม การคิดเอกนัยที่ 0.903 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ค่าเฉลี่ย () ค่าความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนและการวิเคราะห์การถดถอยตัวแปรพหุ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปและสถิติทางสังคมศาสตร์
ผลการวิจัยพบว่านิสิตนักศึกษาสาขาออกแบบสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต มีพฤติกรรมการคิดตามแนวคิด ของกิลฟอร์ด (Guildford thinking style) สูง ผู้ตอบมักใช้การคิดอเนกนัยและเอกนัยสูงในการออกแบบ พบว่า เพศ สาขาวิชา และพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัยสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคิดตามแนวคิดของกิลฟอร์ดอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และตัวแปรช่วงชั้นปีมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการคิดแบบเอกนัย ในทางบวกระดับต่ำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 โดยช่วงชั้นปีสามารถอธิบายความแปรปรวนการคิดเอกนัยของผู้เรียนร้อยละ 12.6 สมการทำนายคือ y= .895 +.131x
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Sinlarat, P. (2018). Education 4.0 is more than education. Bangkok: Chula University Press. 5-11. (in Thai)
Danaci, H. M. (2015). “Creativity and Knowledge in Architectural Education.” Procedia - Social and Behavioral Sciences. 7(174), 1309-1312.
Kumar, L., & Kumari, P. (2016). “A Study of Convergent Thinking and Divergent Thinking among Secondary School Students in relation to Ethnicity, Locale, Types of Institutions and Sex”. Journal of indian education. 41(4), 111-124.
Office of the Civil Service Commission. (2017). Creative thinking. [e-book]. Available: https://www.ocsc.go.th Retrieved February 15, 2018. (in Thai)
Jung, J. H., & Chang, D. R. (2017). “Types of creativity-Fostering multiple intelligences in design convergence talents.” Thinking Skills and Creativity. 11(23), 101-111.
Kaemkate, W. (2012). Research Methodology in Behavioral Science. Bangkok: Chula University Press. 219-222. (in Thai)
McLaughlan, R., & Lodge, J. M. (2019). “Facilitating epistemic fluency through design thinking: a strategy for the broader application of studio pedagogy within higher education.” Teaching in Higher Education. 24(1), 81-97.
Dhabharnbudr, Y. (2003). “Guideline for architectural design studio by problem solving process and inquiry based learning case stydy: faculty of arhchitecutre, Khon kaen university.” Master’s thesis, Chulalongkorn university, 84. (in Thai)
Huber, A., Leigh, K., & Tremblay, K. (2012). “Creativity processes of students in the design studio.” College Student Journal. 46(4), 903-913.
Ciravoglu, A. (2014). “Notes on Architectural Education: An Experimental Approach to Design Studio.” Procedia - Social and Behavioral Sciences. 6(152), 7-12.