การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ

Main Article Content

กัลยาณี เจริญช่าง นุชมี
เยาวลักษณ์ พิพัฒน์จำเริญกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบเปิด เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยดังนี้ ขั้นตอนที่ 1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ โดยเริ่มจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาสร้างเป็นแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จากนั้นนำไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 18 คน เพื่อสังเคราะห์เป็นรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2) ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในขั้นตอนนี้เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 3) ศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เรียนรู้ตามรูปแบบ โดยสร้างสื่อการเรียนรู้แบบเปิดตามรูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น แล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง ซึ่งเป็นผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 250 คน โดยการคัดเลือกแบบสมัครใจ เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุ การวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ 2) ผลการประเมินรูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุมีคุณภาพอยู่ในระดับดี และ 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้สูงอายุที่เรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้แบบเปิดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เจริญช่าง นุชมี ก. ., & พิพัฒน์จำเริญกุล เ. (2021). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบเปิด (MOOCs) เพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับผู้สูงอายุ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(3), 57–67. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/244664
บท
บทความวิจัย

References

Kulwong, M. (2016). “Model of Self-Reliance according to the Philosophy of Sufficiency Economy of the Elderly in Phu Toei Subdistrict Municipality. Wichian Buri District Phetchabun Province.” Phranakhon Rajabhat Research Journal. 11(1), 165-174. (in Thai)

Jai Tia, S. (2019). “Health Promotion of Aging Society in Thailand 4.0.” Journal of Health Science. 28(2), 185-194. (in Thai)

Anantanathorn, A. (2017). “Philosophy of Sufficiency Economy in Thailand: Guidelines for the Development of Poor Countries.” Journal of politics, administration and law. 9(Special edition), 297-323. (in Thai)

Ministry of Social Development and Human Security, Information and Communication Technology Center. (2014). The elderly population in Thailand : present and future. Bangkok: Information and Communication Technology Center. 3. (in Thai)

Tinnawas, N., & Thammetar, T. (2016). “The study of Massive Open Online Course Model for Thai higher education.” Veridian E-Journal, Silpakorn University. 9(3), 1465. (in Thai)

Maneenil, S., & Thanamai, S. (2020). “Development of an open online teaching model based on the concept of collaborative learning for large groups of learners with different learning styles.” STOU Education Journal. 13(1), 183-199. (in Thai)

Malithong, K. (2005). Educational Technology and Communication. Bangkok: Aroon Printing. 93. (in Thai)

Ditsiri, T. (2021). “Development of a blended learning model with proactive learning methods : To strengthen the competencies in information and communication technology of teaching professional students.” NRRU Community Research Journal. 15(2), 197-209 (in Thai)

Nukong, J. (2015). “Design of integrated training model with MOOC teaching to develop information, media and technology skills for graduate students.” Technical Education Journal King Mongkut's University of Technology North Bangkok. 6(1), 105-113. (in Thai)

Nunsang, K. (2019). “Development of an open online teaching and learning management for the public (MOOC) in the Psychology of Developmental Aging.” Digital Learning, Communication and Multimedia. 2019(8), 8. (in Thai)