การศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ASSURE Model เพื่อวางแผนการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการแนะแนวของนิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ ASSURE Model เพื่อวางแผนการใช้สื่อและเทคโนโลยีในการแนะแนว 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตต่อการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ นิสิตปริญญาตรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนวสำหรับครู ภาคปลายปีการศึกษา 2563 หมู่เรียนที่ 5 จำนวน 32 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หน่วยการออกแบบกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ ASSURE Model 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรม 3) ข้อสอบวัดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ ASSURE Model เครื่องมือทั้งหมดได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพโดยมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.60-1.00 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างของคะแนนโดยใช้สถิติ Pairedsample t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับASSURE Model ของนิสิตที่เข้าร่วมกิจกรรมในระยะหลัง การทดลอง ( = 3.72) สูงกว่าระยะก่อนการทดลอง (
= 2.48) อย่างมีนัยสำคัญ ที่ 0.05 2) นิสิตมีความพึงพอใจเกี่ยวสิ่งที่ได้รับจากการเข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด 3 ด้าน ตามลำดับ คือ การนำ ASSURE Model มาใช้ในการวางแผน การจัดกิจกรรมมีความเหมาะสมกับเนื้อหาของรายวิชา (
= 4.59) การเข้าร่วมกิจกรรมช่วยให้นิสิตมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การออกแบบการใช้เทคโนโลยีและสื่อการเรียนรู้เพื่อการแนะแนว โดยใช้ ASSURE Model (
= 4.43) การเข้าร่วมกิจกรรมช่วยให้นิสิตมีแนวทางในการออกแบบหรือเลือกประยุกต์ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม (
= 4.40)
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Chalarak Nawaporn. 2015. The Teacher's Role and Instruction in The 21st Century. The Far Eastern University Academic Review, 9(1), p. 64-71.
Luksaneenawin Sudaporn. 2010. Learning to change. Bangkok: Professional and Organizational Development Network in Higher Education.
The Higher Education Commission. 2019. Guidelines for Compliance with the Thai Qualifications Framework for Higher Education on Digital Competence for an Undergraduate Degree. [Online] Retrieved form: http://edu.vru.ac.th/main/wp- (December 2, 2019).
Sumon Amornvivat. 2011. Teachers and Challenging Changes. Bangkok: Wacharin P.P. Printing.
Ammaret Netasit. 2020. Guidance and Using Technology in Guidance. Bangkok: Decembery.
Heinich, R., Molenda, M., Russeell., and Smaldino, S. 1999. Instructional Media and Technologies for Learning (6th Ed). Columbus: Prentice- Hall.
Kulaya Wanichbancha. 2007. Statistics Analysis Statistics for management and Research. Bangkok: Chulalongkorn University.
Kittipong Phumpuang. 2015. The Development of e-Learning Model by Collaborative Learning on Social Mediato Develop Information Literacy Skills for Undergraduate Students of Educational Faculty. Dissertation for Doctor of Philosophy in Curriculum and Instruction, Department of Curriculum and Instruction, Silpakorn University.
Wijarn Panich. 2013. How to Learning in 21st Century. Bangkok: Siam Kammajol Foundation.
Sayamon Insa-ard. 2018. A Design of e-Learning Lessons to Enhance Advance Thinking Skill. Bangkok: V Print.
Somsak Aeamkongsee. 2018. Classroom Management in the 21st Century. Bangkok: Triple Education.
Karakada Nugkim and Noppawan Kaneungchaisakul. 2020. Using SocialMedia-Material for Learning in Child Psychology in School. Journal of Industrial Education, 19 (2), p1-11.