วิถีอาชีพสตรีมเมอร์และแนวทางการพัฒนาอาชีพสตรีมเมอร์ในทัศนะของสตรีมเมอร์อาชีพ

Main Article Content

ศุขธัช ชำนาญกิจ
ภัทรวรรธน์ จีรพัฒน์ธนธร
ชัยรัตน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวิถีอาชีพสตรีมเมอร์ในมิติของกระบวนการเข้าสู่อาชีพ พฤติกรรมการประกอบอาชีพ ความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบอาชีพ ตลอดจนคุณลักษณะที่สำคัญของผู้ประกอบอาชีพสตรีมเมอร์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาอาชีพสตรีมเมอร์ในมุมมองของผู้ที่ประกอบอาชีพสตรีมเมอร์ ประชากรประกอบด้วย กลุ่มสตรีมเมอร์อาชีพหลัก จำนวน 5 คน และกลุ่มสตรีมเมอร์อาชีพเสริม จำนวน 5 คน รวม 10 คน คัดเลือกโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบบันทึกภาคสนาม ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า หากเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสตรีมเมอร์หลักกับสตรีมเมอร์อาชีพเสริมแล้ว สตรีมเมอร์อาชีพหลักจะมีผู้ติดตามและผู้รับชมในจำนวนที่มากกว่า มีระยะเวลาสตรีม (ถ่ายทอดสด) ที่ยาวนานกว่า มีพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์กับผู้รับชมและให้ความสำคัญกับผู้รับชมมากกว่า มีจำนวนรายได้และรางวัลที่มากกว่า ส่วนที่คล้ายคลึงกันของทั้งสตรีมเมอร์อาชีพหลักและสตรีมเมอร์อาชีพเสริมคือกระบวนการเข้าสู่อาชีพ ปัญหาและอุปสรรค และทัศนะต่อความสำเร็จในอาชีพ ในด้านคุณลักษณะสำคัญของสตรีมเมอร์อาชีพพบว่า ทั้งสองกลุ่มให้ความสำคัญกับความรักในอาชีพ ความอดทน ความเป็นตัวของตัวเอง การพัฒนาทักษะการพูด และทักษะทางอารมณ์ ผลการศึกษาด้านแนวทางการพัฒนาและยกระดับอาชีพสตรีมเมอร์นั้น สตรีมเมอร์ยังไม่มีความประสงค์ที่จะมีหน่วยงานมากำกับดูแลเนื่องจากอาจขาดความเป็นอิสระในการทำงาน ส่วนปัจจัยสำคัญในการยกระดับอาชีพสตรีมเมอร์คือคุณภาพและความสามารถของสตรีมเมอร์เอง ตลอดจนบทบาทของสตรีมเมอร์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคม ทั้งนี้ หากสตรีมเมอร์ได้รับการยกระดับสู่อาชีพที่เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางจะทำให้สตรีมเมอร์เป็นอีกหนึ่งอาชีพที่เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับวิถีชีวิตในยุคปกติใหม่

Article Details

How to Cite
ชำนาญกิจ ศ., จีรพัฒน์ธนธร ภ., & วงศ์กิจรุ่งเรือง ช. (2021). วิถีอาชีพสตรีมเมอร์และแนวทางการพัฒนาอาชีพสตรีมเมอร์ในทัศนะของสตรีมเมอร์อาชีพ. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 20(1), 30–40. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/243847
บท
บทความวิจัย

References

Rattanamuk, P. (2017). Thailand 4.0: the Thailand’s answer?. Bangkok: Panyachon Distributor. 2-10. (in Thai)

Duangwises, N. (2019). Cultural studies in a digital world. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. 21-30. (in Thai)

Kongkasawat, T. (2012). Stepping on professional speaking career. Nonthaburi: Think Beyond Books. 85-95. (in Thai)

Blevins, T. (2019). Ninja: get good: my ultimate guide to gaming. New York: Crown Publishing Group. 152-160.

De Wit, J., Van Der Kraan, A., & Theeuwes, J. (2020). “Live streams on Twitch help viewers cope with difficult periods in life.” Frontiers in Psychology. 11, 3162.

Institute for Population and Social Research. (2019). Social media: a double-edged sword. Bangkok: Thai Health Promotion Foundation. 92-102. (in Thai)

Posri, S. (2019). Fundamental online 4.0 careers. [online]. Available: https://www.ookbee.com Retrieved March 15, 2020. (in Thai)

Ottelin, T. (2015). “Twitch and professional gaming: playing video games as a career.” Thesis, JAMK University of Applied Sciences, 14.

Edge, N. (2013). “Evolution of the gaming experience: live video streaming and the emergence of a new web community.” The Elon Journal of Undergraduate Research in Communications. 4(2), 33-39.

Samatthiyadeekul, N., & Kunte, M. (2020). “What motivates introverted streamers? A study from twitch.tv.” ASEAN Journal of Management & Innovation. 7(1), 1-13.

Fietkiewicz, K., Dorsch, I., Scheibe, K., Zimmer, F., & Stock, W. (2018). Dreaming of stardom and money: micro-celebrities and influencers on live streaming services. Las Vegas, NV: Springer. 240-253.

Goncharov, M. (2018). “Emergence of Twitch in the gaming industry.” Thesis, JAMK University of Applied Sciences, 9.

Wohm, D. Y., & Freeman, G. Z. (2020). “Live streaming, playing, and money spending behaviors In e-sports.” Games and Culture. 15(1), 73-88.

Phukowluan, A. (2017). “Characteristics and formats of successful gamecasters in Thailand: a case study of Zbing Z. Channel.” Master’s thesis, Thammasat University, 54-57. (in Thai)

Schofield, D., & Ledone, R. (2019). “The motivations of a video game streamers and their viewers.” Screen Thought. 3(1), 1-14.

Foster, L. B. (2016). “Effects of video game streaming on consumer attitudes and behaviors.” Master’s thesis, East Tennessee State University, 32-34.

Saengwirun, T. (2017). “Factor influencing exposure to games on the stream platform among teenagers in Bangkok.” Journal of Communication and Management NIDA. 3(1), 43-63. (in Thai)

Juthanom, J. (2019). “Market factors affecting satisfaction in live streams on Twitch.” Master’s thesis, Siam University, 42-45. (in Thai)