การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ทักษะการคิด เชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัยและพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิด เชิงสร้างสรรค์รวมทั้งศึกษาผลการใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ดำเนินการวิจัยเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ระยะที่ 2 การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย วิทยาลัยนครราชสีมา จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test
ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการ พบว่า การจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาการศึกษาปฐมวัย ยังประสบปัญหาด้านความรู้ความสามารถในการออกแบบการจัดการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ผลการพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ พบว่า หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์มี 5 องค์ประกอบ คือหลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ และการประเมินผล มีผลการประเมินความเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญในระดับมาก และผลการศึกษาการใช้หลักสูตรเสริมสร้างสมรรถนะครู ด้านทักษะการคิดเชิงสร้างสรรค์ พบว่า นักศึกษาผู้รับการพัฒนาตามหลักสูตร มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ ด้านทักษะการคิด เชิงสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเสริมสร้างสมรรถนะครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Ministry of Education. (2008). Core Curriculum for Basic Education, Buddhist era 2008. Bangkok: Khurusapha Publishing House. Lat Phrao. 56-58. (in Thai)
Office of the Teacher Civil Service and education Personnal Comisssion. (2010). “Criteria and method of development Government teacher and education personnel before being appointed to the position of director of the institution study.” Journal of Teacher Civil Service and Educational Personnel. 2(2), 30-32.
Worapot, W., & Atip, J. (2011). New Future Skills: Education for the 21st Century. [e-book]. Available: http://openworlds.in.th/books/21st-century-skills Retrieved June 5, 2011. (in Thai)
Nilphan, M. (2012). Educational research methods. Nakhon Pathom: Silpakorn University Press. 36-39. (in Thai)
Thatthong, K. (2011). Teach thinking. Bangkok: Petchkasem Printing. 36-40. (in Thai)
Department of Mental Health. (2000). Manual of Emotional Intelligence. Bangkok: Printing House of Agricultural Cooperatives of Thailand. 32-36. (in Thai)
Mezirow, J. (2000). Learning as transformation: Critical Perspectives on a Theory in Progress. San Francisco: Jossey Bass. 34-38.
Thongmon, L. (2007). “A Development Curriculum to Promote Self-Directed Learning of Primary School Students.” Doctoral thesis, Srinakharinwirot University, 23-30. (in Thai)
Punprasert, V. (2008). “A Development of Training Curriculum for Science Teachers in the Design of Laboratory Experiment Incorporating Local Wisdom.” Doctoral thesis, Srinakharinwirot University, 21-42. (in Thai)
Maiwhai, W. (2016). “The Development of Training Program for Teachers to Develop Student Skill in the Primary Level School Under the Jurisdiction of Bangkok Metropolitant.” Doctoral thesis, Dhurakit Pundit Universi, 36-39. (in Thai)
Losiri, W. (2007). “Development of a Blended Learning Model to Develop Problem-Solving Skills. and Decisions for Undergraduate Students in Institutions of Physical Education.” Doctoral thesis, Phitsanulok: Naresuan University, 38-42. (in Thai)