รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบและเพื่อตรวจสอบยืนยันรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครูวิทยาลัยนครราชสีมา เป็นการวิจัยและพัฒนาดำเนินการวิจัย 5 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 การร่างรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 การประเมินความเหมาะสมของรูปแบบโดยการจัดประชุมกลุ่มสนทนากับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 12 คน ขั้นตอนที่ 4 การตรวจสอบความเป็นไปได้ของรูปแบบ และขั้นตอนที่ 5 การยืนยันความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบกับผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ในขั้นตอนที่ 3 แบบสอบถามที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบประเมินประกอบร่างรูปแบบ และแบบสอบถามความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของ Likert กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครูวิทยาลัยนครราชสีมา จำนวน 92 คน กำหนดระดับความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในแนวทางสู่การปฏิบัติตั้งแต่ระดับมากขึ้นไปหรือ 3.50 ขึ้นไป
ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพครูสำหรับนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพครู วิทยาลัยนครราชสีมา โดยการสังเคราะห์ที่ครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับ หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ สาระสำคัญของรูปแบบ แนวทางการนำรูปแบบไปสู่การปฏิบัติ และเงื่อนไขการนำรูปแบบไปสู่ความสำเร็จ ผลการประเมินความเหมาะสมของร่างรูปแบบ โดยภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการปฏิบัติของรูปแบบตามสาระสำคัญของรูปแบบ โดยภาพรวมมีความเป็นไปได้ในการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก และการตรวจสอบยืนยันรูปแบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า มีความเห็นด้วยและสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้ร้อยละ 100
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
ASEAN Secretariat. (2008). The Asean charter of Association of Southeast Asean Nation. Jakarta: ASEAN Secretariat. 56-58.
Ministry of Education. (2008). Guidelines according to the announcement Ministry of Education on English language teaching reform policy. Bangkok: Khurusapha Publishing House, Lat Phrao. 54-56. (in Thai)
Office of the Education Council Secretariat. (2018). Teacher competency research report and approach develop teachers in a changing society. Bangkok: Ministry of Education. 28-29. (in Thai)
Pruet, S., & Chayapim, U. (2018). Crisis and Development Strategy, Faculty of Education, Education for Education Reform in the National Education Development Plan (2017-2036). Bangkok: Office of the Prime Minister. 23-30. (in Thai)
Srisa-ard, B. (2012). Introduction research. 9th ed. Bangkok: Children's club. 51-54. (in Thai)
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.
Prasarntri, T. (2012). “Teacher Developing Models of Students in Nakhon Phanom University.” Nakhon Phanom University Journal. 2(3), 25-32. (in Thai)
Vangmeejongmee, C. (2017). “Competency of Thai Teacher in 21st Century : Wind of Change.” Journal of HRintelligence. 12(2), 47-63. (in Thai)
Madaus, G. F., Scriven, M. S., & Stufflebeam, D. L. (1983). Evaluation Models Viewpoints on Educational and Human Services Evaluation. 8th ed. Boston: Khuwer-Nijhoff Publishing. 25-36.
Sinlarat, P., Khamdit, S,. Manoosawet, C., Wisaruetapa, W., & Meesan, N. (2015). Education 4.0 is more than education. Bangkok: Printing Press of Chulalongkorn University. 95-96. (in Thai)