ศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สำหรับการออกแบบเครื่องแต่งกาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ สำหรับการออกแบบเครื่องแต่งกาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในการออกแบบ 2) ออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ 3) ประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภค จากการศึกษาอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอจากผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ชุมชน เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และสรุปอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอเป็นแนวทางเพื่อทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบชุมชนมีส่วนร่วมในการวิเคราะห์อัตลักษณ์ เลือกลวดลาย รูปแบบผลิตภัณฑ์ รวมถึงกระบวนการผลิต ผลการวิจัยพบว่า จากการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมีลักษณะเด่นทางอัตลักษณ์ทั้งหมด 7 ด้าน ได้แก่ ภาษา อาหารขนบธรรมเนียมประเพณี สถาปัตยกรรม เครื่องประดับ เครื่องแต่งกาย และเครื่องดนตรี จากการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปได้ว่าการแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอสร้างความน่าสนใจจากอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมชัดเจน สร้างความประทับใจได้จากการพบเห็น เครื่องแต่งกายของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมีบทบาทเป็นสื่อกลางการถ่ายทอดประวัติศาสตร์ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชุมชน สะท้อนความเป็นอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอได้อย่างชัดเจน โดยเฉพาะลวดลายโบราณบนเครื่องแต่งกายกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอซึ่งเรียกชื่อว่า ลายตะก้อเหล่ ลายเซะเคล้ ลายต้ามิงคลิ ลายตะซ้อเถาะ ลายเบอะคาเคาะ ลายท่าสื่อโหร่ง ลายเพ้อโดะ ลายตื่อดิ ลายชุยคอเหลาะ ลายสะกอพอ ลายตะเก๊เก๊าะ และลายโถ่วหลี่เคาะ ทั้งหมด 12 ลาย ด้วยเทคนิคการสร้างลวดลายจากการจก การทอยกดอก การมัดหมี่ การปักด้วยด้ายหรือไหมพรมหลากสี การปักประดับตกแต่งด้วยเมล็ดลูกเดือย เหมาะสำหรับการนำมาออกแบบผลิตภัณฑ์ทั้งเสื้อ กางเกง ชุดกระโปรง และกระเป๋า โดยมีการนำอัตลักษณ์จากของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอมาใช้เป็นส่วนหนึ่งของผลิตภัณฑ์ เพื่อคงความดั้งเดิมสอดคล้องกับแนวคิดเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
สรุปผลการออกแบบผลิตภัณฑ์จากอัตลักษณ์กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ พบว่า รูปแบบที่ 1 มีความเหมาะสมมากที่สุด มีความเห็นอยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D.= 0.67) รองลงมาคือ รูปแบบที่ 3 มีความเหมาะสมในระดับมาก (
= 3.82, S.D.= 0.83) รองลงมาอันดับสุดท้าย คือ รูปแบบที่ 2 มีความเหมาะสมในระดับมาก (
= 3.67, S.D.= 0.84)
ผู้บริโภควัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 ท่าน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก 1) ด้านผลิตภัณฑ์ ความสวยงามของผลิตภัณฑ์ด้านรูปร่าง รูปทรง ( = 4.67, S.D.= 0.61) ผลิตภัณฑ์มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว (
= 4.70, S.D.= 0.65) ผลิตภัณฑ์มีความเหมาะสมต่อการใช้สอย (
= 4.67, S.D.= 0.48) 2) ด้านราคา ราคาเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ (
= 4.30, S.D.= 0.53) ราคาเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพ (
= 4.57, S.D.= 0.50) ราคาเหมาะสมเมื่อเปรียบเทียบกับคุณสมบัติ (
= 4.43, S.D.= 0.73) 3) ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์สามารถวางจัดจำหน่ายในงานแสดงสินค้า (
= 4.60, S.D.= 0.56) ผลิตภัณฑ์จำหน่ายผ่านสื่อออนไลน์ (
= 4.83, S.D.= 0.38) 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด มีบริการจัดส่งผลิตภัณฑ์ (
= 4.67, S.D.= 0.61) มีการประชาสัมพันธุ์ผลิตภัณฑ์ในด้านต่างๆ (
= 4.10, S.D.= 0.66) มีการสร้างแรงจูงใจในการซื้อผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ (
= 3.97, S.D.= 0.81)
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Arts and crafts international center. (2014). Uniqueness and art of hill tribe fabric patterns. 1st ed. Phra Nakhon Sri Ayutthaya: Siam Color Print. 15-22.
Ployharnkan, K. (2019). Interview, February 1.
Leesuwan, W. (1999). Local arts and crafts. Bangkok: Compact Print. 122-123.
Bono, E. D. (2004). Side thinking: English and Thai. Translated by Yuda Rakthai. Bangkok: Expert Net. 43-68.
Yodbangtoei, M. (1995). Design. 1st ed. Bangkok: Odeon Store. 72-73.
Siriwan, S., Prin, l., Suporn, S., & Ongart, P. (1998). Marketing strategy and marketing management. 1st ed. Bangkok: Diamond in Business Network. 80.
Art league centre of thailand. (2540). CRIES FROM THE HILLS. Bangkok: Silpasiam. 1-6.
Pawanrak (Alias). (2006). KAREN WEAVING. Vol 2. Lamphun: Lumphun Primary Educationnal Service Area office 2. 1-19.