การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ศุภรัตน์ โสดาจันทร์
ทนงศักดิ์ โสวจัสสตากุล
ศิริรัตน์ เพ็ชร์แสงศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมกับการเรียนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ประจำปีการศึกษา 2562  ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม จํานวน 94 คน จำแนกออกเป็น กลุ่มที่ 1 ใช้เพื่อทดลองประสิทธิภาพจำนวน 24 คน กลุ่มที่ 2 ใช้การเรียนการสอนด้วยสื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมจำนวน 33 คน กลุ่มที่ 3 ใช้การเรียนการสอนแบบปกติจำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย สื่อเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบประเมินคุณภาพการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง 0.38-0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง 0.25-0.58 และมีค่าความน่าเชื่อถือได้ (KR-20) เท่ากับ 0.81 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีชนิดสองกลุ่มเป็นอิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า สื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ในภาพรวมมีคุณภาพในระดับดีมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.58 , S = 0.22) เมื่อพิจารณาแต่ละด้านของรายการประเมินพบว่า ด้านเนื้อหามีคุณภาพดีมาก ( gif.latex?\bar{x} = 4.88 , S = 0.17) ในด้านเทคนิคผลิตสื่อมีคุณภาพดี ( gif.latex?\bar{x} = 4.28 , S = 0.65) มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 เท่ากับ 77.92/75  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 75/75 และนักเรียนที่เรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
โสดาจันทร์ ศ. ., โสวจัสสตากุล ท. ., & เพ็ชร์แสงศรี ศ. . (2020). การพัฒนาสื่อการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม เรื่อง งานช่างภายในบ้าน ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 19(2), 30–39. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/240765
บท
บทความวิจัย

References

Ministry of Education. 2008. The Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok: Agricultural Cooperatives of Thailand printer.

Kitrungreng, N. 2002. Learner is important and writing learning plans of professional teachers according to basic education curriculum. (p.10). Bangkok: Sathaporn Books.

Wiwat Meesuwan. 2016. Development of tangrams with augmented reality. Journal of Education Naresuan University, 18(4), p. 56-68.

Chaiyong Promwong. 2013. Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Education Research Journal, 5(1), p. 1-20.

Monchai Thianthong. 2005. Multimedia and Hyper Media. Bangkok: King Mongkut's Institute of Technology North Bangkok.

Soontree Montreesree and Thanongsak Sovajassatakul. 2009. A development of augmented reality media on animation creation for grade 11 students. Journal of Industrial Education, 18(2), p. 40-47.

Valarmathie Gopalan, et al. 2014. A Review of the Features of Augmented Reality Science Text book. Proceedings of 1st International Conference on Creative Media, Design & Technology (REKA2014). Penang: (Brochure).

Angknana Khantreejitranon. 2019. The Effectiveness of Using Electronics Augmented Reality (AR) Based Social StoryBook to Decrease Inappropriate Behaviors of Children with Autism. Journal of Education Studies, 47(3), p. 548-567.

Piyamas Kaewcharoen and Warisara Thiraphanpiyasuphara. 2016. Development of virtual technology in brochures Computer Technology Subject. Academic journal Bangkok Thonburi University, 5 (1), p. 68-81.

Muneeroh Phadung and Soawanee Dueramae. 2019. A Development of Interactive e-Book for Thai Language Learning of Students Using Malay Dialect as a Mother Tongue in Three Southern Border Provinces. Journal of Yala Rajabhat University, 14(3), p. 318-327.

Sasiyamon Charoenphon and Apichart Sungthong. 2020. The results of using digital media in learning management by using project-based learningin physicsfor grade-11students. Journal of Science and Science Education, 3(1), p. 19-29.

Kulawan Sudjaicheun and Sa-Ngiam Torut. 2017. Effects of an English Supplementary Reading Material Focusing on Vocabulary Learning and Text Structure Analysis on Vocabulary Learning and Reading Comprehension of Mattayomsuksa Four Students of Banglane Wittaya School, Amphur Banglane, Nakhon Pathom. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 10(1), p. 189-200.

Ratha Kansoongnern and Nammon Ruangrit. 2016. The Development Of E-Learning On English For Tourism By The Murdoch Integrated Approach (Mia) For Matthayomsuksa 4Watthamjariyapiro School Samutsakhon Province. Veridian E-Journal,Silpakorn University, 9(1), p. 702-716.

Kurotuainee Hajiabdulloh, Nuttaphong Kanchanachaya and Narongsak Roebkorb. 2019. Development of Instructional Augmented Reality Media in English Language Teaching for Grade 11 Students. Academic Journal of Buriram Rajabhat University, 11(2), p. 79-96.

Sirinthip Chansuwan. 2017. The Effects Of Learning By Augmented Reality Collaborates With Synectics Seaching Of Career And Technology Subject On Creativity In 3d Design Of Matthayomsuksa 4 Students. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(3), p. 1294-1310.

Richey, R.C. 1986. The Theoretical and Conceptual Bases of Instructional Design. New York: Nichols.

Seels, B., and Glasgow, Z. 1990. Exercises in Instructional Technology. Columbus OH: Merrill Publishing Co.

Anderson & Krathwol. 2015. A Taxonomy for Learning, Teaching, and Assesing : A Revision of Bloom’s Taxonomy of Eduational Objectives (Kerangka Landasan untuk Pembelajaran Pengajaran, dan Asesmen).Yogyakarta: Pustaka Pelajar.