การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชลทิพย์ จันทร์จำปา
ดวงกมล ฐิติเวส
พีรนันท์ ยอดบ่อพลับ
นฤมล บุญมั่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อเกมการศึกษา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ – คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียนของโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต จำนวน 11 แผน 2) เกมการศึกษา 3) แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของเกมการศึกษา 5) แบบทดสอบระหว่างการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้ และ 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อเกมการศึกษา นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่านประเมินความสอดคล้องของแผนการจัดการเรียนรู้ทั้งหมด มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ระหว่าง 0.90-0.93 และผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ประเมินความถูกต้องและเหมาะสมของเกมการศึกษาทั้งด้านเนื้อหาและด้านเทคนิคอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก เมื่อทดลองใช้เกมการศึกษากับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง พบว่าประสิทธิภาพของเกมการศึกษา เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 83.17/81.36 และผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อเกมการศึกษาอยู่ในระดับดี

Article Details

How to Cite
จันทร์จำปา ช., ฐิติเวส ด., ยอดบ่อพลับ พ., & บุญมั่น น. (2020). การพัฒนาเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การสืบพันธุ์ของพืชดอกและการเจริญเติบโต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 18(3), 36–44. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/215807
บท
บทความวิจัย

References

Rogers, C.R. 1969. Freedom to learn. Columbus: Charles E. Merrill Press.

Wichanee, P. 2015. A study of learning achievement biology on “Kingdoms of Life” by using brain -based learning (BBL) with games for matthayomsuksa 4 students. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts), 8(2), p.450-463.

National Institute of Educational Testing. 2019. Summary Table of Ordinary National Educational Testing of Grade 12 in the academic year 2018. Retrieved June 24, 2019, from http://www.newonetresult.niets.or.th/AnnouncementWeb/PDF/SummaryONETM6_2561.pdf

National Institute of Educational Testing. 2019. Summary Table of 9 core subject Testing of Grade 12 in the academic year 2019. Retrieved June 24, 2019, from http://www.niets.or.th/th/content/view/9745

Jeekratok, K. 2017. Development of educational computer game based on constructivism theory on the topic of “kids garden”. In The 3rd National Conference on Technology and Innovation Management. (p. 1-7). Maha Sarakham: Rajabhat Maha Sarakham University.

Khemmani, T. 2016. Teaching and Knowledge for effective learning process management (20th Edition). Bangkok: Chulalongkorn University Press.

Chanaken, K. 2013. A Development of Online Game on Sufficiency Economy Theory by Simulation Situation Technical. Master of Computer Technology. King Mongkut’s University of Technology North Bangkok.

Kulsawat, T. 2015. The knowledge management of the development of research quality in Faculty of Political Science and Law. In The research tools and quality testing conference. Chonburi: burapha university.

Gutierrez, A. 2014. Development and Effectiveness of an Educational Card Game as Supplementary Material in Understanding Selected Topics in Biology. CBE life sciences education journals, 13(1), p.76-82.

Brahmawong, C. 2013. Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), p.1-20.

Qian, M. 2016. Game-based Learning and 21st century skills: A review of recent research. United State of America: Elsevier.

Ketsuwan, P. 2015. The Xvolution Board Game. Saravit (National Science and Technology Development Agency), (23), p. 2-5.

Preedakorn, A. 2014. Design A Boardgame to Study Colourcircle for Students in Grade 6. Master of Education Thesis (Art Education), Srinakharinwirot University.

Wangthaphun, T. 2018. The Development of Inquiry Model (5Es) Based Instructional Package for Grade 10 Students on “Biomolecules”. Journal of Industrial Education, 17(3), p. 195-202.