ศึกษาและออกแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยการศึกษาและออกแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อออกแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ 1 คือ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานครประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.เด็กและผู้ปกครอง จำนวน 100 ท่าน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามคำถามปลายปิด ความต้องการเบื้องต้นของที่ระลึก 2.ผู้เชี่ยวชาญพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร จำนวน 3 ท่าน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสัมภาษณ์ไม่เป็นทางการ สอบถามข้อมูลเกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ระยะ 2 คือ เพื่อออกแบบของที่ระลึกพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญพิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร จำนวน 5 ท่าน และผู้เชี่ยวชาญออกแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 2 ท่าน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบของที่ระลึก ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบบรรจุภัณฑ์และกราฟิก จำนวน 3 ท่าน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นบรรจุภัณฑ์และกราฟิก
ผลวิจัยพบว่า จากแบบสอบถามความต้องการเบื้องต้นของที่ระลึกทั้งหมด 12 ประเภท สามอันดับแรกที่ได้คะแนนมากที่สุดคือ ของเล่น/เกมส์ ตุ๊กตา และเสื้อยืด ผลวิเคราะห์ภาพร่างของที่ระลึก ทั้งหมด 10 ชุด ผ่านการคัดเลือก 3 ชุด คือ ชุดที่ 1 (ชุดเมืองสายรุ้ง) ชุดที่ 2 (ชุดสวนหลังบ้าน) ชุดที่ 3 (ชุดครัวไทยจิ๋ว) และนำไปประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลที่ได้พบว่า ชุดที่ 1 (=4.05, S.D=0.40) ชุดที่ 2 (
=4.11, S.D=0.34) ชุดที่ 3 (
=4.10, S.D=0.24) ทั้ง 3 ชุดเหมาะสมอยู่ระดับมาก และจากแบบร่างบรรจุภัณฑ์ 9 แบบ (ชุดละ 3 แบบ) ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ ผลที่ได้พบว่า บรรจุภัณฑ์ชุดเมืองสายรุ้ง ครัวไทยจิ๋ว และ สวนหลังบ้าน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
Children's Discovery Museum Handbook. 2018. Culture, Sports and Tourism Department of Bangkok Metropolitan Administration. P.2, P.4
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University. 2002-2006. Office of The Education. Laws and Policies Research on ICTs and Child Protection.
Weeranan Damrongsakul. 2011. Social Interaction in Children’s museum: the Bangkok Family Center (Thung Khru) p. 3-4. Research Institute for Languages and Cultures of Asia.
CDM-Bangkok. Children’s discovery museum. Http://www.cdm-bangkok.com/
Udomsak Saributr. 2007. Furniture design. Bangkok: publisher odeon store.
Chittinun Tejagupta. 2008. Principles of early childhood education. Nonthaburi: victory publishing company limited.
Thananya Onsri and Songwut Egwutvongsa. 2017. Study and Development Playgrounds Field for Children 5-6 years. Faculty of Industrial Education and Technology King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.