การคัดสรรรูปแบบการจัดการเรียนการสอนและวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาเกษตร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การจัดการศึกษาเกษตรเป็นแนวทางแห่งการปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความสามารถ โดยคำนึงถึงหลักการเรียนรู้ด้วยการกระทำจริง โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้วิชาเกษตร ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา การศึกษาเป็นแบบต่อเนื่อง และต้องทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ ยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญและสามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยครูผู้สอนจะต้องมีรูปแบบที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนและควรมีขั้นตอนดังนี้ ขั้นที่ 1 การกระตุ้นผู้เรียน ขั้นที่ 2 การให้ความรู้ ขั้นที่ 3 การฝึกปฏิบัติและขั้นที่ 4 การวัดและประเมินผล ซึ่งทำให้ครูผู้สอนวิชาเกษตรสามารถนำไปใช้กับวิธีการจัดการเรียนรู้วิชาเกษตรในรูปแบบต่างๆ เช่น การเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนรู้ด้วยการฝึกงาน การเรียนรู้ในสถานการณ์จริง การเรียนรู้โดยใช้แหล่งเรียนรู้ในชุมชนและธรรมชาติ และการเรียนรู้แบบโครงงาน ได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม
Article Details
"ข้อคิดเห็น เนื้อหา รวมทั้งการใช้ภาษาในบทความถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน"
References
[2] จิตผกา ธนปัญญารัชวงศ์. 2531. หลักการศึกษาเกษตร. สงขลา: ภาควิชาพัฒนาการเกษตร คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
[3] สุรินทร เสถียรสิริวัฒน์ รัชดากร พลภักดี และภัคพงศ์ ปวงสุข. 2554. หนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชางานเกษตรเรื่อง “การปลูกพืช” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 5. กรุงเทพฯ: วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10 (ฉบับพิเศษ), น. 290-297.
[4] บุญเลี้ยง ทุมทอง. 2556. ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เอส. พริ้นติ้ง ไทยแฟคตอรี่.
[5] ทิศนา แขมมณี. 2552. ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[6] วัชรา เล่าเรียนดี. 2555. รูปแบบและกลยุทธ์การจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิด. พิมพ์ครั้งที่ 9. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม.
[7] ทิศนา แขมมณี. 2554. รูปแบบการเรียนการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: แอคทีฟ พริ้นท์.
[8] สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. 2550. การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์และที่เน้นการปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
[9] พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. 2555. คู่มือปฏิบัติการเพื่อพัฒนาผลการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งคุณภาพ กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
[10] รมณีย์ อาภาภิรม. 2531. วิธีสอนวิชาเกษตร. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
[11] สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. 2553. 20 วิธีการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม การจัดการเรียนรู้โดยการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
[12] ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. 2554. การจัดการเรียนรู้ตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : สหมิตรพริ้นติ้งพับลิสซิ่ง.