ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติมของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

ทวิช สามารถ
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล
วรนารถ แสงมณี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติมและ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระดับความสำคัญส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติม จำแนกตามพฤติกรรมการซื้อ โดยสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญจากผู้บริโภคที่ซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 ราย โดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวในการทดสอบสมมติฐาน โดยผลการวิจัยพบว่า


1) ในภาพรวมระดับความสำคัญของส่วนประสมทางการตลาดอยู่ในระดับมาก โดยเรียงจากมากไปน้อย ดังนี้ ด้านราคา ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด


2) ผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมการซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติม ด้านตราสินค้าที่ซื้อและค่าใช้จ่ายในการซื้อต่อครั้งแตกต่างกัน ให้ความสำคัญต่อส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ในการซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05

Article Details

How to Cite
สามารถ ท., โรจน์นิรุตติกุล ณ., & แสงมณี ว. (2014). ส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อครีมอาบน้ำชนิดเติมของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 162–169. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173223
บท
บทความวิจัย

References

[1] ประชาชาติธุรกิจ. 2553. ภาพรวมของตลาดสบู่ ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.prachachat.net (วันที่ค้นข้อมูล: 17 มิถุนายน 2555).

[2] การให้บริการพื้นที่โฮมเพจมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2554. เคล็ดไม่ลับการกำจัดขยะ ในบ้าน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet6/envi3/monpit-a/kya.htm (วันที่ค้นข้อมูล: 19 มิถุนายน 2555.)

[3] บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์. 2553. สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: เรือนแก้วการพิมพ์.

[4] ชูศรี วงศ์รัตนะ. 2534. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

[5] พรพิมล ศรีพันธานุสรณ์. 2546. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคสบู่เหลวเพื่อสุขภาพผิวในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[6] ดาลัด ฐิติภาณุเวช. 2549. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสบู่เหลวโชกุบุสซึโมโนกาตาริของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

[7] อัมพิกา ชูกิตติกุล. 2552. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการซื้อสเปรย์ระงับกลิ่นกายสำหรับผู้ชาย ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[8] ปิยาภรณ์ มฤคพันธุ์. 2554. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อยาอมบรรเทาการเจ็บคอของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น.266-277

[9] ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ. 2541. การวิจัยธุรกิจ. กรุงเทพฯ : A.N. การพิมพ์.