ศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด

Main Article Content

ธเนศ ภิรมย์การ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก (2) เพื่อจัดทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก (3) เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจต่อต้นแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก จำนวน 100 คน โดยใช้แบบสอบถามและนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์โดยใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{x}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ซึ่งจากผลการวิจัยสามารถสรุป ได้ดังนี้


1. นักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก มีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก ด้านความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น เกี่ยวกับคำขวัญประจำจังหวัด ตราสัญลักษณ์ของจังหวัด สถาปัตยกรรมแบบเจดีย์เกาะเกร็ด ประติมากรรมงานปั้น งานหัตถกรรมจากเครื่องปั้นดินเผา และภูมิทัศน์ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก


2. นักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก มีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับโอกาสในการเลือกเครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึกในภาพรวม อยู่ในระดับมาก


3. นักท่องเที่ยวและคนในท้องถิ่น ที่ซื้อผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก มีระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด ประเภทของที่ระลึก ด้านคุณลักษณะของบรรจุภัณฑ์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก

Article Details

How to Cite
ภิรมย์การ ธ. (2014). ศึกษาและพัฒนาบรรจุภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา เกาะเกร็ด. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 146–153. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173219
บท
บทความวิจัย

References

[1] เครื่องปั้นดิน. 2545. เครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ด. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.skn.ac.th. (วันที่ค้นข้อมูล :25 มิถุนายน 2554)

[2] ศิริพรณ์ ปีเตอร์. 2548. หลักการออกแบบผลิตภัณฑ์. คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

[3] ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพร คงเจริญเกียรติ. 2541. บรรจุภัณฑ์อาหาร. กรุงเทพฯ : แพคเมทส์.

[4] พรรณี ลีกิจวัฒนะ. 2554. วิธีการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

[5] อดุลย์ จาตุรงคกุล. 2545. กลยุทธ์ด้านการตลาด. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[6] ธนวรรณ แสงสุวรรณ และคณะ. 2550. การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.

[7] ชวลิต เปี่ยมวารี ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์ และ จิระเสกข์ ตรีเมธสุนทร. 2554. ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมการค้าปลีกในไฮเปอร์มาร์เก็ตในเขตจังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 10(3), น. 115-128.

[8] พงษ์ธาดา วุฒิการณ์ และยลฤดี วุฒิการณ์. 2541. ศิลปะบรรจุภัณฑ์ในเมืองโตเกียวและเชียงใหม่ : ในมุมมองทางสังคมและวัฒนธรรม. เชียงใหม่ : มูลนิธิซุมิโตะโมะ.