ความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

พนิดา กิตติอร่ามพงศ์
ชัยสิทธิ์ ทองบริสุทธิ์
ณัฐวุฒิ โรจน์นิรุตติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลจากตัวแทนประกันชีวิต ในบริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 401 คน เครื่องมือวัดในการวิจัยครั้งนี้ คือแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณในการทดสอบสมมติฐาน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้


1) ระดับความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิตบริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร อยู่ในระดับมาก มีค่าเท่ากับ 3.95


2) ปัจจัยที่มีผลพบว่า การออกแบบงาน ความมั่นคงในงาน โอกาสความก้าวหน้าในสายอาชีพ และรางวัลและค่าตอบแทน มีผลต่อความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต โดยตัวแปรอิสระทุกตัวสามารถอธิบายความผันแปรของความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ร้อยละ 75.3

Article Details

How to Cite
กิตติอร่ามพงศ์ พ., ทองบริสุทธิ์ ช., & โรจน์นิรุตติกุล ณ. (2014). ความผูกพันต่อองค์การของตัวแทนประกันชีวิต บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จำกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 13(1), 71–77. สืบค้น จาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JIE/article/view/173197
บท
บทความวิจัย

References

[1] ส่วนแบ่งทางการตลาดประกันชีวิต ปี 2554 [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.insurefordream.com/market_share_2011.html. 2554. (วันที่ค้นข้อมูล: 20 กุมภาพันธ์ 2556)

[2] สร้อยตระกูล (ติวยานนท์) อรรถมานะ. 2541. พฤติกรรมองค์การ ทฤษฎีและการประยุกต์ กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

[3] สุภาพร กิตตินันทะศิลป์. 2554. ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสานักงานเศรษฐกิจการเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

[4] กนกวรรณ วันธนไทยนันท์. 2552. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความผูกพันของพนักงาน บริษัท ชิโยดะ อินทิเกร (ประเทศไทย) จำกัด. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต กลุ่มวิชาพลวัตรและการจัดการองค์การ มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

[5] ชลดา สิทธิวรรณ. 2539. ความผูกพันต่อองค์การของเจ้าหน้าที่องค์การพัฒนาเอกชนในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสาขารัฐศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

[6] วรพันธ์ เศรษฐแสง. 2548. ปัจจัยที่มีผลต่อความผูกพันในองค์กรของพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราช นครินทร์.

[7] สุรชัย ชาสุรีย์. 2550. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 15(3), น.28-35.

[8] ชัยยุทธ เลิศพาชิน. 2550. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาการ และพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไปมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิทยาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.